วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บุญ กิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
          คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้ ๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม
 ๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม
๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด
๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ
๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป
๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า สาธุเพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย
๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิด ประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป
๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป
๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ
บุญ กิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป ที่มา http://www.dhammakaya.org/dhamma/boon01.php

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการพูด

เทคนิคการพูดในที่ชุมนุมชน
          การพูดในที่ชุมนุม คือ การสนทนาที่ได้ขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น เป็นการสื่อสารอย่างมีจุดมุ้งหมาย

การระงับการประหม่าตื่นเต้น
    1. การเตรียมตัวที่ดี : การคิด การอ่าน การพูด ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
        (ควรมีการเตรียมข้อมูลอย่างน้อย 2 สัปดาห์)
    2. บอกตัวเองว่า การตื่นเต้นไม่ได้เกิดกับเราเพียงคนเดียว
    3. บอกตัวเองว่า นี้คือส่วนหนึ่งของการเล่นเกมส์ เพราะต้องเผชิญกับสภาวะการถูกทดสอบว่า
       เราเล่นสำเร็จหรือไม่
    4. มองภาพคนฟังทุกคนให้เป็นมิตรอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมากคนพูดที่เกิดอาการประหม่า เพราะกลัวคนฟัง
    5. มีสมาธิ ไม่วอกแว่กเอาใจใส่กับเนื้อหาสาระที่พูด
    6. การผ่อนคลาย ความเครียด ในขณะรอพูด จงบอกตัวเองว่า "ทำใจให้สบาย เราทำได้"
       ให้พูดออกไปด้วยความมั่นใจ เพราะเราพูดในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ แต่เราทำมากับมือ
    7. เรามักถามตัวเองเสมอว่า "นี้เราจะทำสำเร็จหรือไม่"
        " เราจะทำได้ " ขอให้ท่านลงมือทำ และทำให้ดีที่สุด เท่าความสามารถที่มี
    8. ขอให้ก้าวออกมาเริ่มต้นครั้งแรก และจะพัฒนาได้ในครั้งต่อๆ ไป
       (ประสบการณ์ คือบทเรียน)


ลักษณะการพูดที่ดี
1. ออกเสียงให้ชัดเจน
-คำที่นำมาใช้ต้องการความหมาย
ภาษาอังกฤษต้องแปล
-วรรคตอนดี ถูกต้อง
-อักษรควบกล้ำ
-วางหัวข้อก่อน-หลังให้ชัดเจน
-น้ำหนักของเสียง (อันไหนเน้นต้องเน้น)

2. ความถูกต้องแม่นยำ
-ตรวจสอบข้อมูลของผู้ฟังให้ถูกต้องก่อนพูด
-ไม่ควรใช้ำคำย่อ เช่น พ.ศ., กกต. ฯลฯ
-ข้อมูลตรงกับความจริง

3. ความน่าสนใจ
-การแต่งการให้ร่วมสมัย -แต่งตัวให้อ่อนกว่าอายุ
-ความเชื่อมั่นที่แสดงออก เหมาะสมไม่ก้าวร้าว
-มีความเป็นมิตร สบายๆ แสดงออกทางสีหน้าและแววตา
-การใช้เสียง ต้องมีพลัง สามารถควบคุมได้
-เรื่องราวที่นำมาพูดต้องทันเหตุการณ์เสมอ
-การเคลื่อนไหวร่างกายในขณะพูด เมื่อพูดจบแต่ละเรื่องราว ควรเว้นความต่อเนื่อง

นักพูดที่ดี
1. มีสมาธิ เอาใจใส่ต่อสิ่งที่กำลังทำอยู่
2. มีความกระฉับกระเฉง สนใจสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว กระตือรือล้น มีชีวิตชีวา
3. ต้องเป็นคนมีความคิด รอบคอบ ไม่ใช่เพียงเพื่อขอให้ได้พูด
4. สำนึกในความรับผิดชอบ
-รับผิดชอบต่อผู้ฟัง พูดในสิ่งที่มีประโยชน์คุ้มค่าต่อเวลา
-รับผิดชอบต่อบุคคลิ่นที่ร่วมอยู่ในรายการ
-รับผิดชอบต่อหัวข้อเรื่อง เนื้อหาที่นำมาพูดได้ความชัดเจน
5. มีลักษณะผู้นำ (ยืนตัวตรง , เปิดเผยตัวเองในที่สาธารณะชน)
6. รู้จักประมาณตน ถ่อมตน รู้จักทำใจให้เป็นกลาง รู้จักตัวเองมีเหตุผล มีสติ สุขภาพจิตดี

การใช้ทัศนูปกรณ์
1. มีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจนจากทุกมุมห้อง
2. การบรรยายประกอบควรยืนด้านข้างอุปกรณ์
3. ควรศึกษาทำความเข้าใจอุปกรณ์ก่อนการบรรยาย
4. ถ้าจำเป็นต้องถืออุปกรณ์ด้วยตัวเอง ควรไว้ด้านหน้า หรือด้านข้างลำตัว
เนื่องจากอุปกรณ์ที่นำเสนอ เป็นประโยชน์ต่อคนฟัง ไม่ใช่คนพูด
5. การวาดภาพบนกระดานดำ ควรมีการฝึกมาก่อน
6. เอกสารแจกผู้ฟัง ควรมากพอเท่าจำนวนผู้ฟัง ไม่ควรใช้การหมุนเวียน
กรณีเอกสารมีน้อยจะทำให้เกิดความวุ่นวายสับสน
7. หัวข้อทเรื่องเนื้อหาของการพูด ควรใช้กระดาษบันทึกขนาดเล็ก ใส่หมายเลขตามลำดับก่อนหลังตามลำดับ


ข้อห้ามที่ไม่ควรทำ
การพูด : เอ้อ อ้า แบบว่า ก็ และก็ แล้วอ้า คิดว่า ควร

วลีที่ปราศจากความหมาย : อะไรเนี๊ยะ อะไรพวกเนี๊ยะนะฮะ พูดใช้ได้ ดีพอสมควร ใช้ได้ดีพอสมควร เหล่าเนี๊ยะนะฮะ ............นะคะ .............นะครับ ฯลฯ

อากัปกิริยาที่ต้องห้าม
: แกว่ง
: โยก
: เขย่า
: กระดิกร่างกาย หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
: เล่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดขณะพูด ควรวางมือขวาทับมือซ้าย ประมาณใต้เข็มขัด
: แลบลิ้น
: หัวเราะจนตัวงอ
: ไม่มองหน้าผู้ฟัง

ที่มา  http://www.waluka.com/talk.html