สังคมบ้านบกพอก


๑. ประวัติหมู่บ้าน

          แต่เดิมก่อนที่คนจะเข้ามาอยู่ที่บ้านบกพอกแห่งนี้   สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าทึบ และมีฝูงสัตว์ป่า เป็นจำนวนมาก ในเขตบริเวณป่าแห่งนี้   เช่น  กวาง กระต่าย ลิง    บริเวณป่าทึบแห่งนี้จึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์พืชนานาชนิด ประมาณปี พ.ศ.๒๔๗๐  ได้มีผู้บุกเบิกคนแรกคือ นายผิว ไชยนคร  เป็นหมอยาสมุนไพรแผนโบราณเดินทางมาจากบ้านกระทุ้มและได้สร้างที่พักพอได้อาศัย  บริเวณที่พักอาศัยมีต้นไม้ ขนาดใหญ่คือต้นบกและต้นพอก  จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้าน บกพอก   และต่อมาได้บุกเบิกที่ทำนาปลูกข้าว ปี พ.ศ.  ๒๔๗๘   มีเพื่อนอพยพครอบครัวตามมาอีก    ครอบครัว  คือ  นายทะ  บัวเขียว และนายลี  พรมทัต

               รวมเป็น ๓  ครอบครัว  ได้แบ่งที่ดินทำกินกันคนละทิศคนละทางคนที่มาอยู่อาศัยก็ได้ขยายครอบครัวมีลูกมีหลานและมีเพื่อนบ้านอพยพมาอยู่อีกหลายครอบครัวจนปัจจุบัน



๒. สภาพทั่วไป

           หมู่บ้านตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอ อยู่ห่างจากอำเภอ ประมาณ      กิโลเมตร  มีเนื้อที่  ,๓๕๓  ไร่  หมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือน  ๘๐  ครัวเรือน  แบ่งเป็น    คุ้ม

                   
                   หมู่บ้านนี้มีจำนวนประชากร  ๓๗๕  คน เป็นชาย  ๑๙๘  คน เป็นหญิง  ๑๗๗  คน


หมู่บ้านมีแห่งน้ำธรรมชาติลำห้วย  หนองบึง      แห่ง คือ

     ๑.   ลำห้วยทับทัน
     ๒.   หนองบก-พอก

๓. สภาพทางสังคม ภาษา  วัฒนธรรม  ประเพณี

          - ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ

          -  ประชาชนใช้ภาษาท้องถิ่น  คือ  ส่วย

          - ประเพณีที่สำคัญ  คือ  ประเพณีบุญข้าวจี่  วันอาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา

วันวิสาขบูชา  วันมาฆบูชา   บุญกฐิน  ลอยกระทง   เป็นต้น

๔. สภาพทางเศรษฐกิจ

          ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำนา

๔.๑  รายได้  

                             จากการเกษตร  ทำนา   ,๙๘๐,๐๐๐     บาท / ปี 

                                                 ทำไร่                           -            บาท / ปี

                                                 ทำสวน                     ๑๕๐,๐๐๐     บาท / ปี

                                                 เลี้ยงสัตว์                    ๓๒๕,๐๐๐     บาท / ปี

                                                 ประมง                           -           บาท / ปี

                                                 ค้าขาย                       ๓๖๐,๐๐๐    บาท / ปี

                                                 บริการ                                       บาท/ ปี

                                                 รับจ้าง                       ,๖๘๐,๐๐๐   บาท/ ปี

                                                 งานประจำ                   ,๔๔๐,๐๐๐   บาท/ ปี

                                                 ลูกหลานส่งให้               ,๕๐๐,๐๐๐    บาท/ ปี

                                                 กำไรจากกลุ่มองค์กร       ๑๘๖,๐๐๐       บาท/ ปี

                                                 อื่นๆ                                  -       บาท / ปี

๔.๒  หนี้สิน

                   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)รวม   ,๐๒๕,๐๐๐  บาท / ปี

                          ธนาคารพาณิชย์    -  บาท / ปี

                          สหกรณ์    ๘๐๐,๐๐๐  บาท/ ปี

                          กลุ่มองค์กร    ,๓๔๐,๐๐๐  บาท/ปี

                          หนี้นอกระบบ /นายทุน   ๕๕,๐๐๐ บาท/ปี

                          บริษัท ธุรกิจด้านการเงิน    -   บาท / ปี 

อื่นๆ   -  บาท/ปี

๔.๓  รายจ่าย

                                                 หมวดการผลิต    ๖๓๐,๐๐๐ บาท/ปี

                                                 หมวดอาหาร/ยารักษาโรค ๕,๐๕๐,๐๐๐  บาท/ปี

                                                 หมวดของใช้สิ้นเปลือง   ๑๒๐,๐๐๐ บาท/ปี

                                                 หมวดการศึกษา   ,๕๒๐,๐๐๐  บาท/ปี

                                                 หมวดงานสังคม  ๔๒๐,๐๐๐ บาท/ปี

อาชีพเสริม   คือ  เลี้ยงสัตว์   รับจ้าง ทำสวน เย็บผ้า

ราษฎรมีรายได้ต่ำกว่า  ๒๓,๐๐๐  บาท  จากการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี ๒๕๕๔  จำนวน    ครัวเรือน

ในหมู่บ้านมีร้านค้า  จำนวน    แห่ง

ในหมู่บ้านมีกลุ่มอาชีพ  จำนวน    กลุ่ม  ประกอบด้วย

๑.      กลุ่มโรงสีชุมชน       สมาชิก  ๑๒๑  คน  ทุนดำเนินการ   1,086,895 บาท

๒.      กลุ่มแม่บ้านเย็บผ้า    สมาชิก  ๓๐    คน  ทุนดำเนินการ     25,000  บาท

๓.      กลุ่มโรงปุ๋ยชีวภาพ    สมาชิก  ๑๐๑  คน   ทุนดำเนินการ    199,000  บาท

หมู่บ้านมีกองทุนในหมู่บ้านจำนวน    กองทุน

ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน

๕. สภาพทางสังคม

                              หมู่บ้านมีโรงเรียนประถมศึกษา/มัธยมศึกษา  -  แห่ง

                              หมู่บ้านมีเด็กกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จำนวน  ๘๔  คน

                              หมู่บ้านมีราษฎรที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา จำนวน  ๘๐  คน

                              มีโทรศัพท์มือถือ  ๑๒๐  เครื่อง   โทรศัพท์สาธารณะ    แห่ง

                              หมู่บ้านมีผู้สูงอายุ  ๖๘  คน ผู้พิการ     คน

การปกครองแบ่งเป็น      คุ้ม 

          คณะกรรมการแผนชุมชน  ประกอบด้วย

                                      ๑.      นายสมบูรณ์   พันธ์เพชร           ประธาน

                                      ๒.      นายประมูล    วงศ์จันทร์           รองประธาน

                                      ๓.      นายสำราญ    บัวเขียว             เลขานุการ

                                      ๔.      นายคำ    แก้วนาคินทร์            กรรมการ

                                      ๕.      นายสมนึก    บุตราช              กรรมการ





แนวโน้ม / ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน / วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

บ้านบกพอก  หมู่ที่    ตำบลห้วยทับทัน   อำเภอห้วยทับทัน   จังหวัดศรีสะเกษ

คำขวัญ           บกพอกพัฒนา   ชาวประชาชื่นใจ   กว้างไกลโรงสีชุมชน

วิสัยทัศน์         ร่วมใจพัฒนา  ชาวประชาสดใส ปลอดภัยสารเสพติด  ใช้ชีวิตพอเพียง




 เป้าหมายระยะยาว  (๕-๑๐ปี) 


   ๑.โครงการประปาหมู่บ้าน

   ๒.โครงการขุดลอกคลองระบายน้ำ

   ๓.ใช้ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตเอง

   ๔.มีการส่งออกข้าวทั้งในและนอกประเทศ

   ๕.ขุดคลองส่งน้ำจากหมู่บ้านถึงลำห้วยทับทัน

   ๖.สร้างถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านทุกซอย




















เป้าหมายระยะสั้น (๑ ปี )



๑.      ชาวบ้านมีการปลูกผักสวนครัวไว้กินเอง

 ๒.      สร้างอาชีพเสริม เพิ่ม รายได้   ลดรายจ่ายในครอบครัว

๓.      รณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุขทุกชนิด

๔.      เพิ่มการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

๕.      มีโรงสีชุมชนเปิดรับซื้อข้าวจากสมาชิก

        
      





การกำหนดอัตลักษณ์ของชุมชนหมู่บ้าน/ชุมชน
และการกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Positioning)ของหมู่บ้าน/ชุมชน

อัตลักษณ์ของชุมชน
  หมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน คือ
   ๑.      ปุ๋ยชีวภาพ ปริมาณการผลิตต่อปี  ,๐๐๐ กก.  รายได้จากการจำหน่าย  ๓๗,๕๐๐บาทจำหน่ายสมาชิกในหมู่บ้านและใกล้เคียง
๒.      รำ, ปลายข้าว ปริมาณการผลิตต่อปี   ๒๑,๓๖๐ กก. รายได้จากการจำหน่าย  ๘๕,๔๔๐  บาท แหล่งจำหน่ายสมาชิกในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง


อัตลักษณ์ของชุมชนคือ  รำแม่มด

การกำหนดตำแหน่งอาชีพของหมู่บ้านใน  ๕- ๑๐ ปี ข้างหน้า
      ๑.      รณรงค์ให้ประชาชนในหมู่บ้านหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพในการทำนา
     ๒.      สร้างโรงงานฝึกสอนตัดเย็บเสื้อผ้า
     ๓.      มีการส่งออกข้างทั้งในและต่างประเทศ โดยกลุ่มโรงสีชุมชน
     ๔.      ฝึกอบรมอาชีพเสริมตามความสนใจเพื่อให้มีรายได้เสริมทุกครอบครัว
     ๕.      สร้างศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน



ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน
             
     จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลจปฐ. และกชช.2ค และข้อมูลการเวทีประชาคม สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านให้ดีขึ้น ดังนี้
    ๑.ขุดเจาะบ่อบาดาลน้ำตื้นในชุมชนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 
   ๒.ขยายเขตซ่อมบำรุงน้ำประปาของชุมชน  ที่มีหลังคาครัวเรือนเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการพื้นฐานของชุมชน 
    ๓.จัดให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณรอบหมู่บ้าน     

โครงการต่างๆเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโครงการที่เป็นรูปธรรมสามารถทำได้จริงเพื่อให้เกิดการพัฒนาในหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืน



ไม่มีความคิดเห็น: