เรียนรู้เรื่องภาษา


บรรพชนของศรีสะเกษ
ชนชาติกวย กูย หรือส่วยสายพันธ์แห่งเผ่าพันธ์  (เรียบเรียงโดย ภราดร  ศรปัญญา)
                ศรีสะเกษ    เป็นจังหวัดที่เก่าแก่   และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน   โดยพาะอย่างยิ่งบริเวณพื้นที่ๆ เป็นจังหวัดศรีสะเกษแห่งนี้ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่งของภาคอีสานและเป็นพื้นที่เข้าใจกันว่าชน ชาติกวยหรือส่วยคงจะเป็นบรรพชนเจ้าของพื้นที่มาตั้งแต่ดั้งเดิมและเป็นผู้ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มืว่าในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษจะยังไม่มีการขุดค้นหรือศึกษาโครงสร้าง ด้านมนุษยวิทยาและการตั้งหลักแหล่งอย่างจริงจังก็ตาม แต่ก็พออนุมานได้ว่า ชาวส่วยหรือชาวกวยน่าจะเป็นบรรพชนของคนศรีสะเกษ  ทั้งนี้เพราะจังหวัดศรีสะเกษมีหมู่บ้านหรือชุมชนที่ชาวกวยหรือที่เรียกกัน ว่า “ชาวส่วย” มากกว่าจังหวัดใดใดในภาคอีสาน
                ชาวกวยหรือชาวส่วยเป็นใคร? มาจากไหน? จึงเป็นเรื่องน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นักประวัติศาสตร์และนักมนุษยวิทยาสันนิษฐานว่าชาติกูยนั้นเป็นกลุ่มชนที่พูด ภาษาในตระกูลมอญ เขมร มีเลือดผสมระหว่างเวดดิด (veddid) กับเมลาเนียมซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามลักษณะพื้นที่ เช่น ชาวลาว ในประเทศสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเรียกว่า “ข่า” ชาวไทยสยามเรียกว่า “ส่วย” หรือกลุ่มแถบล้านนาเรียกว่า “ลัวะหรือละว้า” เป็นต้น ส่วนลักษณะโครงสร้างทางภาษามีส่วนคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับภาษามุนด้า (Munda) ซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยมีอาชีพอยู่ตามลุ่มน้ำพรหมบุตรตอนเหนือแถบแคว้น อัสสัม ประเทศอินเดีย
                บาสตินและเบนด้า (Bastin and Benda) (1968:2) กล่าวว่า ชนชาติกวยมีภูมิลำเนาเดิมอยู่บริเวณลุ่มน้ำพรหมบุตรตอนเหนือ ประมาณ 2400 ปีก่อนพุทธกาล ชาวกูยได้อพยพหนีภัยสงครามเนื่องจากถูกพวกอารยันรุกรานโดยอพยพมาทางตะวันออก จนถึงลุ่มแม่น้ำคง (สาละวิน) และแม่น้ำโขงตอนบน พวกที่อพยพไปทางลุ่มน้ำคงได้กลายเป็นชนเผ่ามอญ ส่วนพวกที่อพยพลงมาตามลุ่มน้ำโขง บางพวกไปอาศัยอยู่ตามที่ราบสูงพนมดงแร็ก (ตองแหระ บางพูดว่าตองแผระ ในภาษาส่วยซึ่งแปลว่าไม่คานหรือคานสำหรับแบกหาม) บางพวกเลยลงไปถึงที่ราบต่ำบริเวณทะเลสาบและชายทะเล  ต่อมาต่อมาได้กลายเป็นบรรพบุรุษของเขมรหรือแขมร์ ส่วนพวกตั้งหลักแหล่งอยู่ตามป่าเขามักจะเรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ลั้ว ข่า ขมู กวยหรือส่วย  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานระบุไว้ชัดเจนว่า กลุ่มชนเหล่านี้มีถิ่นที่อยู่กระจัดกระจายทั่วไป ตลอดแนวสองฟากฝั่งลุ่มน้ำโขง แม่น้ำมูล และมีการรวมกลุ่มกันเป็นบ้านเมืองมมานานนับศตวรรษก่อนที่ชนเผ่าไทยจะเข้ามา มีอำนาจในบริเวรแถบนี้
                หลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ พงศาวดารล้านช้าง กล่าวว่า “ในปี 2103 สมเด็จพระไชยเชษฐิราชต้องทำการปราบปรามพวกข่า และชนเผ่าต่างๆ ที่สร้างบ้านสร้างเมืองอยู่แถวฝั่งแม่น้ำโขงทางใต้นครเวียงจันทร์และในที่ สุดพระองค์ได้หายสาบสูไปในคราวยกกองทัพไปปราบปรามพวกข่า ในแขวงอัตบือ (ศรีศักดิ์  วัลลิโภดม 2533:35-36) พงศาวดารเมืองละแวกครั้งหนึ่งกล่าวว่า กษัตริย์ขอม ซึ่งครองอยู่พระนครหลวงได้ส่งฑูตไปขอกองทัพจากกษัตริย์กวยแห่งตะบองขะมุม เพื่อไปปราบกบฏ ซึ่งกษัตริย์กวยก็ได้ยกทัพไปช่วยรบจนได้ชัยชนะ
                สำหรับหลักฐานฝ่ายไทย สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ตรากฏหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1974 (ปีกุน) ประกาศให้คนสยามห้ามยกลูกสาวให้ชาวฝรั่ง อังกฤษ วิลันดา กับปิตัน กุลา มลายู แขก กวย และแกว ซึ่งเป็นคนต่างชาติต่างศาสนาที่ย่อมแสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของชนชาติ กวยที่มีความเป็นปึกแผ่น และมีการจัดการระบบปกครองเป็นประเทศหรือนครรัฐแล้ว ซึ่งอาจเคยรุ่งเรืองมาก่อนอาณาจักรฟูนัน จาม หรือแม้กระทั่งอาณาจักเจนละเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากระยะเวลาอันยาวนาน โครงกระดูกและหลักฐานต่างๆ จึงสับสนไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นชนเผ่าใดจวบกับการสูญเสียอิสระภาพและ การตกอยู่ใต้อำนาจของชนชาติอื่นอารยะธรรมและวัฒนธรรมได้ถูกทำลายไปหรือไม่ก็ ถูกบดกลืนโดยวัฒนธรรมของผู้ชนะ นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ข้อมูลหรือประวัติความเป็นมาของชนชาติกวยจึงเหลือน้อย เต็มที่ ที่เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันก็เป็นเพียง “ภาษา” ที่พูดจากันเพียงอย่างเดียว
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สารานุกรมชนชาติกูย 
(encyclopedia of kui)
                                                            เรียบเรียงโดย สมทรง บุรุษพัฒน์
ชาวกูย หรือที่คนไทยทั่วไปเรียกว่า “ส่วย”เป็น กลุ่มชนที่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดอุบลราชธานี ตาลำดับ และยังปรากฏอยู่ประปรายในจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ชายกูยในประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณเกือบ ๓ แสนคน ส่วนใหญ่อาศัยปะปนอยู่ในชุมชนชาวเขมรและลาว จึงทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมเข้ากับชนกลุ่มอื่น จนยากที่จะจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ได้ ชาวกูยเหล่านนี้มีวิถีชีวิตเหมือนชาวไทยอีสานทั่วไป คนหนุ่มสาวมักจะอพยพเข้ามาหางานทำในเมือง ๆ นายจ้างจะไม่พบความแตกต่างของชนกลุ่มนี้จากชาวไทยอีสานกลุ่มอื่น ๆ ที่ทำงานอยู่ด้วยกัน นอกจากภาษาที่ใช้ในการสื่อสารเป็นสิ่งที่แยกชนชาวกูยออกจากกลุ่มชน ชาติพันธุ์อื่น ๆ
ปัจจุบันชาวกูยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย นับได้ว่าเป็นประชากรกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ที่ยังต้องการการพัฒนาคุณภาพชีวิตดังเช่นชาวไทยในชนบททั่วไป บุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรที่จะได้มีความรู้เกี่ยวกับชนชาติกูยอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อาจจะกล่าวได้ว่าชนชาติกูยกำลังสูญเสียลักษณะเฉพาะหรือเอกลักษณ์ประจำกลุ่ม ดังนั้นวัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งของการจัดทำสารานุกรมฉบับนี้ก็เพื่อนำ เสนอเรื่องราวที่เป็นลักษณะเฉพาะประจำกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ภาษา การแต่งกาย ความเชื่อ พิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้น มาบันทึกไว้เพื่อรักษาเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของชนกลุ่มนี้ไว้ไม่ให้สูญ หายไปตามกระแสของธรรมชาติและกาลเวลา 

ชาติพันธุ์ และ ความหมาย 
                ลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ เรียกตนเองว่า กูย กุย โกย หรือ กวย ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะการออกเสียงของแต่ละถิ่นและพบว่าและพบว่าตำราที่ เขียนเป็นภาษาต่างประเทศที่เขียนแตกต่างกันตามวิธีคิดของผู้แต่งตำราแต่ละคน เช่นเดียวกัน เช่น เขียนว่า kuy,kui,koui,kouei,และ kouai
                ถึงแม้ชนพื้นเมืองจะออกเสียงสระแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น ชนพื้นเมืองต่างก็ให้ความหมายของคำว่า กูย กุย โกย หรือ โกย ไว้อย่างมีเอกภาพ คือมีความหมายว่า “คน” ทั้งสิ้น การให้ความหมายไว้ลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นความเป็นสากล หรือฐานคติของทัศนะการมองโลกของมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมต่างว่า กลุ่มของตนเองนั้น มีสถานภาพที่แตกต่างจากสัตว์ และมีความเท่าเทียมกันกับมนุษย์ในปริบทของวัฒนธรรมอื่น ๆ เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับชนกลุ่มนี้ นักภาษาศาสตร์และนักชาติพันธุ์วิทยาในประเทศไทยจึงเสนอให้ใช้คำว่า “กูย”เพียงคำเดียว
                ส่วน คำว่า ส่วย นั้น เป็นคำที่บัญญัติขึ้นมานอกเหนือปริบทของวัฒนธรรมกูย ซึ่งชาวกูยเองไม่ค่อยจะยอมรับชื่อนี้เท่าใดนัก สารานุกรมเล่มนี้จึงขอสนับสนุนให้ผู้อ่านใช้คำว่า กูย เพื่อเป็นมนสิการต่อเกียรติภูมิของกลุ่มชาติพันธุ์มีประวัติศาสตร์ของตนเอง 
รูปร่างลักษณะของชาวกูย
รูปร่างของชาวกูยดั้งเดิมมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวกเซมังหรือเงาะหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ซาไก ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าทึบของประเทศมาเลเซีย และทางภาคใต้ของประเทศไทย กล่าวคือ กูยดั้งเดิมจะมีผมดก หยิกหยอก จมูกแบน ริมฝีปากบาง ผิวดำ แต่กระบวนการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และการแต่งงานข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมทำให้เกิดการถ่ายเททางพันธุกรรม (gene flow) ทำให้ชาวกูยกลายลักษณะเป็นแบบมอญ-เขมร กล่าวคือ มีร่างกายสูงใหญ่ไหล่กว้างเป็นเหลี่ยม ปัจจุบันจะพบว่ารูปร่างลักษณะของชาวกุยจะเหมือนชาวชนบทในภาคตะวันออกแยง เหนือโดยทั่วๆไป                

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์  
ถิ่นฐาน เดิมของชาวกูยอยู่บบริเวรตอนเหนือของเมืองกำปงธม   ประเทศกันพูชา  มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า  ชนชาติกูยเคยเป็นรัฐอิสระในช่วงพุทธศตวรรษที่  20  เคยส่งทูตมาค้าขายกับราชสำนักอยุธยา  และเคยช่วยกษัตริย์เขมรแห่งนครธมปราบขบถ  แต่ต่อมาเขมรได้ใช้อำนาจทางทหารปราบปรามชาวกูยและผนวกเอาอาณาจักรกูยเข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของเขมรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ชาวกูยชอบอพอพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ  เพื่อแสวงหาที่ดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก  นอกเหนือจากอยู่ในประเทศกันพูชาแล้ว  ชาวกูยยังได้อพยพขึ้นเหนือเข้าสู่บริเวณเมืองอัตตะบือ  แสนปาง  จำปาศักดิ์และสารวันในบริเวณตอนใต้ของประเทศสาธาณรัฐประชาธิปใตยประชาชนลาว  แต่เนื่องจากต้องประสบกับภัยธรรมชาติ  เช่น  น้ำท่วม  หรือฝนแล้ง  รวนทั้งภัยทางการเมืองชาวกูยจึงอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้าสู่ภาคอีสาน  โดยเฉพาะทางด้านแก่งสะพือ  ซึ่งชาวกูยเรียกว่า“แก่งกะชัยผึด”  (แก่งงูใหญ่)  และในเขตอำเภอโขงเจียม  ซึ่งชาวกูยเรียว่า  “โพงเจียง”  (ฝูงช้าง)  หลังจากนั้น  ลูกหลานชาวกูยก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านนากอนจอซึ่งเป็นภาษากูยแปล ว่าบ้านนาลูกหมา ปัจจุบันคืออำเภอวารินชำราบ  บ้านเจียงอี  ซึ่งเป็น ภาษากูย  แปลว่าบ้านช้างป่วย  ในเขตอำเภอเมืองศรีสะแกษในปัจจุบัน  นับว่าในบรรดากลุ่มมชาติพันธุ์  กูย  ลาว  เขมร  ชาวกูยเป็นชนดั้งเดิมที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่ของอีสานใต้เป็นกลุ่มแรก                          
การอพยพ เข้ามาในประเทศไทยทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น  เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราข   (พ.ศ.2199  2231)และได้มีการอพยพครั้งใหญ่เข้ามาในจังหวัดสุรินทร์และศริสะเกษอีก  ในยุคปลายของกรุศรีอยุธยาไปจนถึงสมัยธนบุรี  (พ.ศ.2245 2326)  ชาวกูยแต่ละกลุ่มที่อพยพมา  มีหัวหน้าของตัวเองสาเหตุอื่นๆของการอพยพนอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วได้แก่ ชาวกูยที่มาอยู่ก่อนชักชวนให้อพยพตามมา  หรือหาบริเวณล่าช้างแหล่งใหม่เพราะชาวกูยมีความชำนาญในการเดินป่าการล่าช้าง และฝึกช้าง  การอพยพได้หยุดลงในสมัยรัชกาลที่ 4 ในเวลาต่อมาได้มีการโยกย้ายไปอยู่จังหวัดใกล้เคียง  ได้แก่  จังหวัดบุรีรัมย์  จังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดมหาสารคาม  ชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ  เรียกหมู่บ้านที่ชาวกูยโยกย้ายไปว่าเป็น  “หมู่บ้านใหม่”  การใช้ภาษาระหว่าชาวกูยกลุ่มเดิมและกลุ่มที่โยกย้ายยังคงมีความเข้าใจกันได้ เป็นอย่างดี  เพราะยังติดต่อกันอยู่
ชาวกูย กับราชอาณาจักร 
                จากหลักฐานสมัยกรุงธนบุรี คนไทยเรียกว่า “เขมรป่าดง”สันนิษฐานว่าเพราะบริเวณตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำมูล(ท้องที่จังหวัด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และบางส่วนของอุบลราชธานี)ไปจนถึงเมืองจำปาศักดิ์ สารวัน อัตตบือ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวกูยมีภูมิประเทศเป็นป่าดง และอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครองของราชอาณาจักรไทย
                ต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อดินแดน “เขมรป่าดง” ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พิจารณาเห็นว่า ถ้าจะเกณฑ์แรงงานผู้คนที่อาศัยอยูในบริเวณเขมรป่าดงในระบอกแลกไพร่ธรรมดา เช่นเดียวกับชาวไทยกลุ่มอื่น ๆ แล้วคงไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะภูมิประเทศเป็นอุปสรรคในการสื่อสารคมนาคม จึงได้มีการนำเอาระบบไพร่ส่วยขึ้นมาใช้ โดยกำหนดให้ชาวเขมรป่าดงส่งส่วยแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน เช่น ครั่ง ไม้เนื้อหอม และของป่าอื่น ๆ จึงเป็นที่มาของการเรียกชาวกูยซึ่งตั้งถื่นฐานอยู่ในบริเวณเขมรป่าดงว่า ส่วย
                นอกจากนี้ยังพบคำว่า “เขมรส่วย” ซึ่ง seidenfaden (1952) กล่าวว่าเป็นพวกกูยที่เปลี่ยนภาษาแม่เป็นภาษาเขมรและได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรและมีคำว่า  “ลาวส่วย” ซึ่งหมายถึงพวกกูยที่เปลี่ยนไปพูดภาษาอีสาน (ไทยลาว) และได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมลาว
ถิ่นฐานของชาวกูยในประเทศไทย 
                เนื่อง จากชาวกูยตั้งถิ่นฐานปะปนกับชาวเขมรสูงและชาวลาว จึงมีการติดต่อแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกันมาตามวิสัยและทำให้ชาวกูยถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมเขมรสูงและวัฒนธรรมลาว ดังจะเห็นได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ใหม่ๆนั้นมีคนกูยทั้งเมือง ชาวเขมรสูงมีปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย แต่นานวันเข้าวัฒนธรรมของเขมรสูงก็ค่อย ๆ เข้ามามีอิทธิพลเหนือวัฒนธรรมของชาวกูย  ชาวกูยจึงถูกกลืนเข้าไปเป็นคนเขมรเกือบหมด
                เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ จังหวัดศรีสะเกษยังเป็นเมืองที่มีชาวกูยอยู่กันทั้งเมือง มีพวกลาวเวียง (สาขาเวียงจันทร์) ปะปนอยู่บ้างบางหมู่บ้าน แต่วัฒนธรรมของลาวได้เข้ามามีอิทธิพลในหมู่ชาวกูย จึงทำให้มีการผสมผสานวัฒนธรรม ชาวกูยที่นี่พูดภาษาลาวด้วยสำเนียวกูยโดยสามารถใช้สระเอือได้ ในขณะที่ภาษาลาวเวียงเดิมมีสระเอีย ร่องรอยที่แสดงว่าศรีสะเกษเดิมเป็นเมืองที่ชาวกูยอยู่กันทั้งเมืองก็คือตัง เลขสำมะโนครัวสมัยนั้นและการเรียกขานชาวศรีสะเกษว่า “ส่วยศรีสะเกษ” อยู่จนทุกวันนี้  
                ปัจจุบันชาวกูยอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างแม่น้ำมูลกับเทือกเขาพนมดง รัก   ครอบคลุมบริเวณพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์   สุรินทร์ ศรีสะเกษจนถึงอุบลราชธานี เชื่อกันว่าบริเวณนี้เป็นเส้นทางอพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศลาวสู่ประเทศ ไทยและยังเชื่อว่าชาวกูยที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีเป็นชาวกูยที่ตก ค้างอยู่ตั้งแต่ครั้งอพยพมาจากลาว   ชาวกูยจะอยู่กันมากทางฝั่งใต้แม่น้ำมูลลงมา จังหวัดที่ชาวกูยอยู่หนาแน่นที่สุด คือ จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดศรีสะเกษ ชาวกูยที่อยู่ในประเทศกัมพูชาจะอยู่ทางตอนเหนือของเมืองกำปงธม
                ในจังหวัดบุรีรัมย์ ชาวกูยส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และมีการอพยพโยกย้ายข้ามอำเภอ หมู่บ้านชาวกูยแต่ละหมู่บ้านประชากรอาจมาจากที่เดียวกันทั้งหมู่บ้านหรือมา จากหลายที่มาอาศัยอยู่ด้วยกันหรืออาจเป็นหมู่บ้านที่ชาวกูยอาศัยอยู่ร่วมกับ ผู้พูดภาษาพื้นบ้านลาวหรือภาษาพื้นบ้านเขมร
                นอกจากนี้ยังพบผู้พูดภาษากูยในเขตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และที่หมู่บ้านหนองบัว ตำบลตลิ่งซัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีผู้พูดภาษาเขมรอาศัยอยู่เช่นกัน ชาวกูยที่นี่เรียกตัวเองว่า “กวย” เรียกภาษาที่ตนเองพูดว่า “ภาษากวย” เข้าใจว่าเป็นพวกเขมรส่วยเพราะพูดได้ทั้งภาษากวยและภาษาเขมร คำศัพท์บางคำก็เหมือนภาษาเขมรเหนือ ชาวกวยกลุ่มนี้อพยพมาจากที่ใดไม่มีหลักฐานปรากฎ  แต่คาดว่าน่าจะอพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ กล่าวกันว่าปู่ ย่า ตา ยาย เดินทางอพยพมาที่จังหวัดสุพรรณบุรีระหว่างสงคราม และตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านสกุลปักษี ตำบลตลิ่งชัน ในปัจจุบันนี้ยังคงมีชาวกูยอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านนี้ ภาษากวยที่พูดในหมู่บ้านหนองบัวก็มีความคล้ายคลึงกับภาษากูยที่พูดที่หมู่ บ้านสังแก ตำบลแตล อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ จะแตกต่างกันก็ตรงที่สระและพยัญชนะท้าน (pailin 1980) อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวว่าผู้พูดภาษากวยที่หมู่บ้านว่าน ตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ไม่เข้าใจภาษากวยที่พูดในจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อสื่อสารจะใช้ภาษาไทย (oranuch 1984)
                จำนวนประชากร 
                                จำนวนประชากรที่ได้มีการสำรวจมีจำนวนดังต่อไปนี้
                                                                จำนวนประชากร                   จำนวนหมู่บ้าน
อุบลราชธานี                                                  ๖,๙๑๖                                    ๑๑
ศรีสะเกษ                                                       ๑๐๕,๘๕๒                            ๒๕๗
สุรินทร์                                                         ๑๑๙,๕๐๖                              ๓๒๒
บุรีรัมย์                                                          ๔๑,๒๙๖                                ๙๖
        รวม                                                    ๒๗๓,๕๗๐                            ๖๘๖ 
                                                                (วรรณา เทียนมี ๒๕๓๓)
ภาษากูยถิ่นต่าง ๆ ในประเทศไทย 
                นักดาราศาสตร์ จัดภาษากูยอยู่ในกลุ่มภาษาดียวกับภาษามอญ-เขมร สาขา katuic ตะวันตก ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Thomas and headley 1970  และ smith 1983) ชาวกูยแต่ละถิ่นจะมีสำเนียงการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป แต่ถ้าหากใช้ระบอบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งอาจแบ่งภาษากูยออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษากูย-กูย และกลุ่มภาษากวย (กูย-กวย) ส่วนภาษากูยกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีผู้วิจัยพบได้แก่
                ๑.กูยเยอ (kui nhe) พูดกันในหมู่บ้าน ๑๐ หมู่บ้าน ในอำเภอศรีสะเกษ ๕ หมู่บ้านในอำเภอไพรบึง และ ๔ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล มีประมาณ ๘,๐๐๐ คน
                ๒.กูยไม (kui nthaw/kui m’ai) พูดใน ๕ หมู่บ้านในอำเภอราษีไศล ๙ หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียง เขตอำเภออุทุมพรพิสัย หมู่บ้านทั้งหมดนี้ ชาวกูยจะอาศัยรวมอยู่กับชนกลุ่มลาว
                ๓.กูยปรือใหญ่ (kui pui jai) พูดใน ๕ หมู่บ้านของตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์
                ภาษากูยถิ่นปรือใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นตัวแทนของกลุ่มกูยที่เพิ่งอพยพมาจากเขมร จากบริเวณมะลูไปร (มโนไพร,มะลูเปร) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสตึงเตรง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำปงธมและเมืองกำปงสวาย (van der haak และ woykos 1990)
                ภาษากูยไม่ได้ใช้เสียงวรรณยุกต์แยกความหมายของคำดังเช่นภาษาไทย แต่มีลักษณะน้ำเสียง (voice quality) คือเป็นภาษาที่มีกลุ่มลักษณะเสียง (registers) โดยมีความแตกต่างของพยางค์ ๒ ประเภทคือ พยางค์ที่มีสระแบบธรรมดา (normal voice) และพยางค์ที่มีเสียงสระก้อง-มีลม (breathy voice) ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ [..] เขียนใต้สระ เปรียบเทียบตังอย่างคู่คำที่มีลักษณะน้ำเสียงเป็นตัวแยกความหมายของคำ
                                Lịḁp       เลี๋ยบ       “เชิง,ริม”                 liap         เลียบ       “ทา”
                                CAḷḁ      จะล๋ฮ      “ชัด”                       calah       จะละฮ    “เช้า” คำลักษณะนามเป็นหัว
                ในปัจจุบัน ชาวกูยส่วนใหญ่พูดได้ทั้งภาษากูยและภาษาไทยกลาง ในชุมชนกูยที่ไม่มีผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานอาศัยปะปน จะไม่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน ในชุมชนกูยที่มีคนเขมรและคนลาวอาศัยปะปนกัน จะพูดภาษากันและกันได้
ศาสนา พิธีกรรม และความเชื่อ 
ความเชื่อ ทางศาสนาของชาวกูยมีลักษณะผสมผสานระหว่างศาสนาพุทธและการนับถือผี (animism)  ภายในชุมชนชาวกูยจะมีทั้งวัดและศาลผีประจำหมู่บ้าน ชาวกูยบูชาผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า “ยะจัวะฮ” บนบ้านจะมีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ มีธูปเทียนและกรวยที่เย็บจากใบตอง บางบ้านก็จะสร้างเป็นศาลผีบรรพบุรุษไว้ใกล้กับศาลเจ้าที่ บ้านที่ไม่มีหิ้งหรือศาลก็อาจจะไปไหว้ผีบรรพบุรุษที่หิ้งหรือศาลของญาติพี่ น้อง บ้านส่วนใหญ่จะมีหิ้งบูชาพระพุทธรูปไว้ในบ้านและจะสร้างศาลผีบรรพบุรุษไว้ ใกล้บ้าน การเซ่นบรรพบุรุษจะกระทำอย่างน้อยปีละครั้ง ชาวบ้านจะเริ่มพิธีโดยเอาข้าวที่สุกแล้ว กรวยใบตอง ผ้า สตางค์ หมากพลู เอามาวางไว้ใต้หิ้งบูชา ทำพิธีเซ่นโดยเอาน้ำตาลโรยบนข้าวสุก จุดเทียนปักลงที่ข้าว แล้วกล่าวขอให้ผีบรรพบุรุษคุ้มครองให้ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง ในณะที่กล่าวก็เอาเหล้าค่อย ๆ รินลงขันอีกใบ เหมือนการกรวดน้ำเสร็จแล้วก็หยิบของที่ใช้เซ่นอย่างละนิดไปวางบนหิ้ง ที่เหลือก็เอาไว้รับประทานและใช้เอง
การเซ่นผี บรรพบุรุษนี้อาจจัดขึ้นในวาระอื่นๆ เช่น เมื่อมีเด็กคลอดได้ ๒-๓ วัน ก็จะทำพิธีดับไฟ โดยเชิญหมอตำแยและญาติผู้ใหญ่มาร่วมพิธี จัดขนม กล้วย ข้าวต้มมัด มาเซ่นผีบรรพบุรุษบอกว่ามีลูกมีหลานมาเกิดใหม่ เด็กเมื่อคลอดแล้ว จะมี “ครูกำเนิด” ซึ่งเป็นครูประจำตัว จะต้องจัดเครื่องสักการะบูชาครูไว้บนหัวนอนของตนเองเสมอ ครูจะช่วยคุ้มครองให้มีความสุข ความเจริญ หากมีการผิดครูจะเป็นอันตราย นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเซ่นผีบรรพบุรุษเมื่อมีแขกมาเยือนและพักอยู่ที่ บ้าน  เจ้าของบ้านจะต้องจัดเหล้า ขนม มาเซ่นไหว้และบอกกล่าวขออนุญาตผีบรรพบุรุษให้แขกเข้าพัก มีการบอกกล่าวว่าแขกเป็นใคร มาจากไหน มาทำอะไร เมื่อแขกมาถึง ก็มีการผูกข้อมือด้วยด้ายที่ย้อมสีเหลืองด้วยขมิ้นพร้อมให้ศีลให้พร
นอกจากา วิญญาณของบรรพบุรุษแล้ว ชาวกูยยังเคารพนับถือวิญญาณทั่วไป ได้แก่ ภูติผีปีศาจ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เป็นต้น เมื่อจะประกอบการงานใดที่สำคัญเกี่ยวกับความสุขความเจริญจะต้องทำพิธีขจัด ปัดเป่า ด้วยความกลัวว่าผีสางเทวดาจะให้โทษหรือมาขัดขวางการกระทำ  เป็นที่น่าสังเกตว่าในพิธีกรรรมต่างๆเกือบทั้งหมดจะมีข้าวเป็นองค์ประกอบใน การเซ่นสังเวยอยู่เสมอ เพราะข้าวเป็นอาหารหลักที่มีบุญคุณและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ในการเพาะปลูกข้าวเกือบทุกขั้นตอนจะมีการจัดพิธีกรรม สวดสรรเสริญหรือแสดงความเคารพข้าว (นิคม วงเวียน ๒๕๓๓) ชาวกูยยังมีความเชื่อในเรื่องผีปอบ จะเห็นได้ในกรณีที่เด็กคลอดแล้ว ต้องเอารกไปฝังไว้ใต้ถุนบ้าน เอาหนามไปวางทับไม่เช่นนั้นผีปอบจะเอาไปกิน แม่เด็กและทารกก็จะตาย นอกจากนี้ชาวกูยยังเชื่อเรื่องขวัญ หรือภาษากูยเรียกว่า “ระเวี๋ยย” ซึ่งเป็นคำรวมเรียกทั้งขวัญและวิญญาณ เช่น เด็กทารก จะมีข้อห้ามไม่ให้อุ้มออกไปเดินผ่านเนินดินเผาผี (บลุฮ กระโมจ) ซึ่งเป็นเนินทุ่งนาใช้เผาศพคนทั่วไปแห่งหนึ่ง บางหมู่บ้านจะมี บลุฮ กระโมจ ๒ แห่ง สำหรับเผาศพคนทั่วไปแห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งใช้เฉพาะเผาศพคนที่มีความสำคัญที่เป็นที่นับถือกันในหมู่ บ้าน ถ้าอุ้มเด็ก ผ่านเนินดินนี้ต้องเรียกขวัญให้กลับมา เรียกว่า “มาเยอขวัญเอย” แล้วบอกชื่อเด็ก เดินไปพูดไป ถ้าไม่เรียกขวัญ ขวัญจะอยู่แถวนั้นไม่ตามเด็กไป เด็กก็จะไม่สบาย การทำพิธีสู่ขวัญมักจะพบในวาระที่สำคัญต่าง ๆ เช่น งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งามศพ เมื่อทารกแรกเกิด การรักษาคนเจ็บเป็นต้น
ในหมู่ บ้านจะมีแม่เฒ่าที่ทำหน้าที่ดูว่าความเจ็บไข้ หรือปัญหาที่มีเกิดจากอะไร โดยให้นำข้าวสาร ๑ ถ้วย และสตางค์ ๑ บาท วางบนข้าวแล้วนำไปวางไว้หน้ามาเฒ่า แม่เฒ่าจะเอาข้าวสารนั้นโปรยไปรอบข้างตัวพร้อมพูดคาถาพึมพำ แล้วเอาข้าวสารเล็กน้อยใส่ในฝ่ามือซ้าย แล้วจับฝากระปุกปูนแกว่งค่อยๆ เหนือข้าวสารนั้น แล้วทำนายสาเหตุของปัญหา ถ้าใช่สาเหตุที่ทำนาย ฝากระปุกปูนจะแกว่งแรงขึ้น ชาวกูย เรียกการทำนายนี้ว่า “โปล” นอกจากนี้ก็มีผู้เก่งทางไสยศาสตร์เรียกว่า “ถัม” บางห่งก็เรียกว่า “อาจาร” ซึ่งเป็นผู้ชายที่มีคาถาอาคมสามารถดูให้ได้ว่าชาวบ้านไปถูกของอะไรมา และจะแก้ไขได้อย่างไร
การเจ็บ ไข้อาจทำให้บรรเทาได้โดยการจัดพิธีกรรมรักษาคนป่วย เพราะเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของภูติผี จึงมีการทำพิธีอ้อนวอนให้ภูตผีพอใจ โดยจัดให้มีการรำผีมอ ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆรำผีฟ้าของกลุ่มที่พูดภาษาลาว การรำผีมอมีการสืบทอดรับช่วงกันมา ผู้ที่จะเป็นผีมอจะต้องผ่านพิธีไหว้ครูครอบครูเพราะจะทำให้ไม่มีใครกล้า ประพฤติหรือเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมที่เคยปฏิบัติกันสืบต่อกันมาเพราะกลัว “ผิดครู” (เครือจิต ศรีบุญนาค ๒๕๓๓)
กูยกับช้าง 
                พิธีกรรม และความเชื่อที่สำคัญเป็นลักษณะเฉพาะตัวของชาวกูยได้แก่พิธีกรรมและความ เชื่อในการเลี้ยงช้าง ความมีระเบียบวินัยและความเป็นเอกภาพในสังคมของชาวกูยจะเห็นได้ชัดเจนใน กลุ่มชาวกูยที่เรียกว่า “กูยตำแร็ย” (ส่วยช้าง) ที่นับถือผีปะกำ ชาวกูยที่เลี้ยงช้างเกือบทั้งหมดในปัจจุบันมีพื้นเพเดิมอยู่บ้านตากลาง ชาวกูยเหล่านี้จะเลี้ยงช้างไว้เป็นสัตว์เลี้ยง มีความชำนาญในการเลี้ยงช้างมาแต่เดิม สืบทอดวิธีการเลี้ยงช้างมาตามบรรพบุรุษ จนถือได้ว่าเป็มรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ชาวกูยจะเลือกทำเลที่ตั้งบ้านเรือนที่ไกล้ป่า และมีน้ำ เพราะเป็นที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงช้าง การเลี้ยงช้างจะเป็นลักษณะธรรมชาติมากที่สุด คือปล่อยให้เข้าป่าไปหากินเอง การเพิ่มประชากรช้างในอดีต (ก่อน พ.ศ.๒๕๐๔) นอกจากปล่อยให้ตกลูกตามธรรมชาติแล้ว ยังมีการออกป่าจับมาเพิ่มขึ้นเรียกว่า “การคล้องช้าง” อีกด้วย วิธีการคล้องช้างที่นิยมในหมู่ชาวกูยคือ “โพนช้าง” ซึ่งเป็นการจับช้างโดยหมอช้าง โดยใช้ช้างต่อไล่จับช้างป่า และใช้บ่วงมาศที่เรียกว่า “เชือกปะกำ” คล้องเท้าช้างป่าข้างใดข้างหนึ่งแล้วผูกล่ามไว้กับต้นไม้ระยะหนึ่ง จึงนำมาฝึกเพื่อใช้งานในเวลาต่อไป
                การคล้องช้างมักจะกระทำกันปีละครั้ง ราวเดือน ๑๑-๑๒ หรือเดือนยี่ถึงเดือน ๓ เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูฝน การคล้องช้างจะใช้เวลา ๒-๓ เดือน และถือปฏิบัติเป็นประเพณีที่ชาวกูยจะต้องเรียนรู้ ในการไปคล้องช้าง อุปกรณ์ที่สำคัญและเป็นสัญญลักษณ์ของชาวกูย คือ “เชือกปะกำ” ที่ทำด้วยหนังควายแห้ง เชือกปะกำถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เชื่อกันว่าผีปะกำสามารถบันดาลให้โชคดี หรือโชคร้ายในการคล้องช้างได้จึงต้องนับถือเชือกปะกำและมีข้อปฏิบัติต่อ เชือกปะกำอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามเหยียบ ห้ามผู้หญิงที่ไม่ใช่สายโลหิตในตระกูลแตะต้องหรือขึ้นไปในศาลปะกำซึ่งเป็น ที่เก็บรักษาปะกำ ศาลนี้มีลักษณะคล้ายผีบรรพบุรุษ แยกออกจากตัวบ้าน ข้อห้ามดังกล่าวนั้นหากใครละเมิดจะผิดครู หรือผิดปะกำ อาจมีผลร้ายต่อผู้ไปคล้องช้าง
                เนื่องจากการคล้องช้างเป็นงานที่เสี่ยงต่ออันตรายมาก ผู้คล้องช้างจึงต้องมีความกล้าหาญ ความชำนาญและต้องอาศัยขวัญและกำลังใจจากผีปะกำซึ่งเชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้ม ครองจากภัยอันตราย ในการคล้องช้าง จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบวิผีควบคุมบังคับบัญชากันภายในกลุ่มที่ออกคล้อง ช้างเดียวกัน   ก่อนออกเดินทางก็ต้องมีการหาฤกษ์ยามและทำพิธีกรรมที่ศาลปะกำโดยหมอช้างจะ ทำพิธีถวายเครื่องเซ่นสรวงผีปะกำ การทำพิธีกรรมอย่างถูกต้องจะช่วยให้การคล้องช้างสำเร็จและปลอดภัย ก่อนออกคล้องช้างนอกจากทำพิธีกรรมดังกล่าวแล้ว ยังต้องขออนุญาตจากทางบ้านเมืองตามกฏหมายเสียก่อน
                ขณะเดินทางไปคล้องช้าง หมอช้างจะต้อง “เข้าปะกำ” ซึ่งเป็นการตั้งสัจจะสาบานต่อกันก่อนออกจับช้าง ต้องปฏิบัติตามระเบียบวินัยที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามยุ่งเกี่ยวกับผู้หญิงในขณะเดินทางไปคล้องช้าง ถ้าฝ่าฝืนจะถูกเสือกัด ห้ามพูดเท็จหรือมีความลับต่อกัน และข้อปฏิบัติที่เป็นลักษณะเฉพาะกลุ่มกูยตำแร็ยคือต้องพูดจากันด้วยภาษาป่า หรือภาษาผี ซึ่งไม่ปรากฎว่าเป็นภาษาของชนชาติใด บางคำมีภาษาไทยอีสานปะปน บางคำมีภาษาเขมร การใช้ภาษาป่า ก็เพื่อเน้นพิธีกรรมให้ดูน่าเชื่อถือและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และทำให้เกิดระเบียบวินัยในหมู่คณะ ภาษาป่าไม่มีการสอนโดยตรงจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในขณะเดียวกัน ภรรยาและบุตรของหมอช้างก็จะต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับอย่างเคร่งครัดเช่นกัน เช่น ห้ามคนอื่นมาพักบ้านโดยเด็ดขาด ห้ามทาขมิ้นหรือใช้เครื่องหอมประทินผิว ผัดหน้า ทาแป้ง ห้ามคนในบ้านไปนอนหรือพักค้างคืนบ้านอื่น เป็นต้น
                เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณที่จะคล้องช้าง ผู้ที่เคยกระทำผิดหรือกระทำบาปกับหมอเฒ่าหรือครูบาใหญ่และหมอเฒ่านี้จะทำ พิธี “ประสะ” ให้หมดมลทิน ชาวกูยเชื่อว่าผู้ที่เคยมีการกระทำผิดอาจก่อให้เกิดผลร้ายแก่ผู้กระทำหรือ ผู้ร่วมเดินทางจึงต้องมีพิธีล้างบาปเสียก่อนโทษที่ไม่สามารถล้างบาปได้คือ โทษกินเนื้องูเหลือม
                เมื่อทำพิธีชำระโทษให้ผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว หมอเฒ่าจะทำ พิธีเปิดป่า (เบิกไพร) เป็นการขออนุญาตเจ้าป่าเจ้าเขาก่อนจะเข้าจับช้าง จากนั้นจะไปหาที่เหมาะสมเพื่อตั้งค่ายพักแรม และครูบาใหญ่หรือหมอเฒ่าจะเซ่นเจ้าป่าเจ้าเขา ตลอดจนผีป่า แล้วทำพิธีก่อกองไฟศักดิ์สิทธิ์ หรือ กองกำพวด ซึ่งเชื่อว่าจะคุ้มครองทุกคนมิให้เป็นอันตราย เมื่อจะออกจากบริเวณนี้ ต้องแสดงคารวะเสมอ มิฉนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนเองและคณะได้ เมื่อได้ที่ตั้งค่ายพักแรม ครูบาใหญ่จะทำพิธีเบิกป่าเพื่อขอความคุ้มครองจากผีปู่ตา แล้วหมอช้างทุกคนจะหันหน้าไปทางที่พักพร้อมกับกล่าวออกมาดังๆว่า “อีเฒ่า อังฮะ” ซึ่งหมายความว่าบัดนี้การคล้องช้างจะต้องสำเร็จอย่างแน่นอน บางแห่งกล่าวคำว่า “อีเฒ่า  อังฮะ” นั้นมีสาเหตุมาจากการสืบทอดมรดกซึ่งกำหนดให้ตกทอดถึงฝ่ายหญิงโดยตลอด ฝ่ายชายเป็นเพียงผู้อาศัยในสายตาตระกูลเท่านั้นที่ดินที่ทำนาจะแบ่งให้ลูก สาวโดยเฉพาะลูกสาวที่เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าจะได้มากกว่าคนอื่น ลูกชายนั้นไม่ค่อยปรากฎว่ามีการแบ่งที่นาให้ เว้นแต่จะมีที่นาเหลือเฟือ แม้ว่าผู้ชายที่เป็นสามีจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่ภรรยามักต้องรับผิดชอบการเก็บรักษาเงินทั้งหมดที่สามีหามาได้ สามารถตัดสินใจในการใช้จ่ายเงินและเป็นที่ยอมรับของสามีมากกว่าชาวไทยเขมร การกระทบกระทั่งระหว่างลูกเขยกับแม่ยายและสายตระกูลน่าจะเกิดขึ้นเสมอ เวลาออกคล้องช้าง ฝ่ายหมอช้างจึงถือโอกาสในการแก้แค้นไปในตัวเมื่อกล่าวคำว่า ว่า “อีเฒ่า อังฮะ”
                เมื่อทำพิธีเบิกป่าแล้วจึงออกเที่ยวค้นหาโขลงช้างป่า ชาวกูยมีความเชี่ยวชาญในการตามรอยหาโขลงช้างป่ามากสามารถคาดคะเนถึงความเก่า ใหม่ ขนาดและจำนวนของช้างได้อย่างแม่นยำ เมื่อพบช้างป่าแล้ว ครูบาใหญ่หรือหมอเฒ่าจะทำพิธี “สะปะช้างป่า” เพื่อปัดรังความไล่ผีป่าที่เรียกว่า “มะเร็งกงเวียร” ออก จากตัวช้างป่าโดยใช้กิ่งไม้หรือผ้าขาวม้าปัดที่หลังช้าง บริกรรมคาถาพร้อมเสกน้ำมนต์ไปรดช้างป่า ชาวกูยมีเวทย์มนต์ที่เป็นเคล็ดลับในการคล้องช้างอยู่หลายอย่าง เมื่อได้เวลากลับบ้าน ครูบาใหญ่จะหาฤกษ์เพื่อปล่อยหมอช้างออกจาก เข้าปะกำโดย จะทำพิธีร่ายมนต์ บอกกล่าวแก่เทพยดา ผีป่า ผีดงว่าได้เสร็จภารกิจแล้วจะพากันกลับบ้าน มีการกล่าวสรรเสริญเทพยดาอารักษ์และผีป่า เมื่อเดินทางใกล้หมู่บ้านหมอช้างจะผูกช้างป่าไว้นอกบ้านและนำช้างต่อกับ เชือกปะกำเข้าไปในหมู่บ้าน นำเชือกปะกำไปเก็บที่ศาลปะกำ ทำพิธีขอบคุณผีปะกำ หมอเฒ่าจะเอาด้ายมาผูกข้อมือเรียกขวัญหมอช้างทุกคน ช้างที่จับมาได้จะแบ่งส่วนให้เจ้าของช้างต่อหมอช้าง ควาญช้าง ช้างที่คล้องมาได้ เมื่อฝึกให้เชื่องและสามารถทำงานได้ดี ก็จะนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ขายใช้ลากไม้ลากซุง ใช้ในการออกเดินทางแสวงโชคเพื่อหาความรู้ ประสบการณ์ โดยรับทำพิธีสะเดาะเคราะห์ลอดใต้ท้องช้าง เป็นต้น นอกจากนี้รายได้จากช้างยังมีการขายผลิตภัณฑ์จากช้าง ได้แก่ งาช้าง น้ำมันช้าง เป็นต้น
                ชาวกูยมีความผูกพันกับช้างมาก การเลี้ยงช้างถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งรับปฎิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ช้างเปรียบเสมือนตัวแทนแห่งบรรพบุรุษ การปฎิบัติต่อช้างจึงแสดงออกมาในลักษณะเช่นเดียวกับการปฎิบัติต่อบรรพบุรุษ เช่น ช้างที่ล้ม (ตาย) ไปแล้ว ก็จะมีการฝังอย่างดี ประมาณ ๓ ปี จะมีการขุดกระดูกขึ้นมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การปฎิบัติต่อช้างอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมจะทำให้เกดิความเป็นศิริมงคลกับ ครอบครัว
                ในปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การบุกรุกขยายพื้นที่ทำกินในบริเวณทำไร่ทำนา ทำให้จำนวนประชากรช้างลดลงและการใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์มาแทนที่แรงงาน ช้างทำให้บทบาทของช้างเปลี่ยนไป มีการจัดงานช้างสุรินทร์เป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความสามารถของช้าง เช่น การเตะฟุตบอล การเก็บของ เป็นต้น
­การแต่งกาย และ ศิลปหัตถกรรม 
ในชีวิต ประจำวัน ผู้หญิงสูงอายุชาวกูยส่วนใหญ่จะนุ่งผ้าที่มีลายเป็นแบบเฉพาะของชาวกูย และใส่เสื้อคอกระเช้าธรรมดา บางคนก็ใส่เสื้อแบบชาวบ้านทั่วๆไป เป็นที่น่าสังเกตว่าหญิงสูงอายุมักจะชอบใส่ดอกไม้หอมไว้ที่ติ่งหูที่เจาะไว้ เช่น ดอกมะลิ บางคนก็ซื้อตุ้มหูเงินมาใส่ เป็นต้น
”“ธรรมเนียม ดั้งเดิมของชาวกูยนั้นกำหนดว่า ลูกหลานจะต้องมีหน้าที่ดูแลการแต่งกายของแม่โดยให้แม่ซึ่งมีอายุมากแล้ว ได้นุ่งผ้า นุ่งไหม ลายพื้นเมือง บ้านใดที่ผู้สูงอายุนุ่งผ้าด้ายธรรมดา แสดงว่าลูกหลาน ขาดการเอาใจใส่ ไม่ช่วยรักษาศักดิ์ศรีของแม่” 
ผ้าไหม เป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทอขึ้นใช้เองในครอบครัวเมื่อมีเวลาว่างจากการทำ นา แม่จะสอนให้ลูกสาวทอผ้าไหมเมื่อย่างเข้าวัยสาว เมื่อแต่งงานออกจากเรือนพ่อแม่ก็จะแบ่งผ้านุ่งไหม ผ้าโสร่ง ผ้าสไบ ให้เป็นมรดก รองจากมรดกประเภทอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ นอกจากนี้ พ่อแม่ยังมอบเรือนพักอาศัยพร้อมกี่ หูกทอผ้า และอุปกรณ์การทอไหมให้แก่ลูกสาวคนสุดท้องอีกด้วย
ใน ปัจจุบันการทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมเริ่มลดน้อยลง ชาวกูยส่วนใหญ่นิยมที่จะซื้อด้ายจากตลาดมาทอเพราะสะดวกกว่า หมู่บ้านที่ยังคงมีการทอผ้าฝ้ายและผ้าไหมอยู่และพบมากที่สุดคือบ้านตรึมแตล อำเภอศรีขรภูมิ บ้านสำโรงทาบ อ.สำโรงทาบ บ้านตากแดด อ.เมือง ตามลำดับ การทอผ้าไหมของชาวกูย แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑.ประเภทผ้านุ่ง 
                ผ้านุ่งสตรี มักนิยมทอหมี่คั่นเป็นทางแนวดิ่งใช้ไหมควบ ยืนพื้นสีน้ำตาลอมดำ มีหัวซิ่น ที่ยีนพื้นสีแดง ลายขิด ตีนซิ่นพื้นดำขนาด ๒-๓ นี้ว มีริ้วสีขาวเหลืองแดง ผ้านุ่งแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
                ก.จิกกะน้อย เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าหางกระรอกหรือผ้ากะเนียวของชาวไทยเขมร มีสีเดียวลักษณะจะออกเหลือบมัน เป็นผ้าสำหรับผู้ชายนุ่งในพิธีการสำคัญต่าง ๆ ลักษณะการนุ่งจะนุ่งพับจับจีบด้านหน้า เหมือนการนุ่งโสร่งของกลุ่มชาวไทยเขมร นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในการคลุมศพคนตายด้วย
                ข.โสร่ง  เป็นผ้าตารางสี่เหลี่ยมใหญ่ มีหลายสีในการทอผ้าจะนำเส้นไหมมา “กวี” หรือมาควบกัน ๒ เส้นเพื่อให้เกิดความมันและหนาลักษณะการทอเหมือกับผ้าโสร่งของชาวไทยลาวหรือ เขมร
                ค.จะวี  เป็นผ้าที่มีลักษณะคล้ายผ้าอันลูซีมของชาวไทยเขมร จะมีลายทางยาวเป็นร่องเล็กๆเป็นผ้าที่ผู้หญิงฝ่ายชายเพื่อไหว้ปู่ ย่า ผู้ที่เป็นสะใภ้จะต้องทออึมเปิล (หัวซิ่น)และเจิง(ตีนซิ่น) มอบให้โดยไม่ต้องเย็บกับจะกวีหรือผ้าถุง ในพิธีแต่งงานของชาวกูยจะต้องให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวถือ “เคียวเกี่ยวข้าว” อันเดียวกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเกี่ยวพันและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
                ง.จิกโฮล  เป็นประเภทผ้ามัดหมี่ ลายต่าง ๆ จะเรียกว่า “จิกโฮล” การนุ่งผ้าประเภทนี้จะต้องต่อเจิง (ตีนซิ่น) และอึมเปิล (หัวซิ่น) เซ่นเดียวกับ จะวี
๒.ประเภทผ้าสไบ 
                ผ้าสไบที่ใช้พาดบ่าหรือเป็นผ้าเบี่ยงของชาวกูยจะทอเป็นผ้ายกดอกหรือยกเขา เรียกว่า “ตะกอ”  ผ้าสไบที่มีลักษณะการทอเช่นนี้เรียกว่า “ผ้าแก็บ” จะทอแล้วนำมาตัดเป็นตัวเสื้อและผ้าสไบ ตัวเสื้อนิยมเป็นสีดำ โดยนำผ้าไหมที่ทอเป็นสีขาวหรือเหลืองตามลักษณะของไหม แล้วไปย้อมมะเกลือให้เป็นสีดำ ผู้ชายจะใช้ผ้าขาว ๒ ผืน เป็นผ้าเบี่ยงในการแต่งกายออกงานพิธี ผู้หญิงใช้ผ้าไหมยกดอกสีดำหรือสีขาวเป็นผ้าเบี่ยง เรียกว่า “สไบแวง” (สไบดำ) หรือ“สไบบัวะ” (สไบขาว) นอกจากนี้ยังมีผ้าสไบโพกหัว เรียกว่า “สไบเจียดตรุย” ทอด้วยฟืมสั้นขนาด ๑๒ ล็อบ เก็บลายขิด ๔-๕ ลาย จัดระยะสวยและเป็นระบบ มีชายครุยทั้งสองข้างห้อยลูกปัดเล็กๆ เรียกว่า ปอนจุ๊ ใช้โพกศรีษะทั้งชายหญิง เวลาออกงาน เช่น การแห่บั้งไฟ งานบวชนาค
๓.ประเภทหัวซิ่นและตีนซิ่น 
ก.ประเภทหัวซิ่น เรียกว่า อึมเปิล จะทอเป็นลายขิด คล้ายของชาวไทยลาวซึ่งใช้สำหรับต่อเป็นหัวซิ่น เวลานุ่งจะทิ้งชายลงมาให้ห้อยเป็นพกไว้ใส่เงิน หรือสิ่งของอย่างอื่นที่จำเป็น ผ้าคาดเอวของผู้ชาย จะทอเหมือนหัวซิ่นต่มีความกว้างมากกว่า  เช่น หัวซิ่นขนาดพื้น ๔-๕ ล็อบแต่ผ้าคาดเอาใช้ขนาดฟืม ๗-๘ ล็อบ โดยยืนพื้นสีแดงเช่นกัน เก็บลาย (แกะเลีย) เป็นขิดเป็นระยะๆ วิธีใช้จะทำผ้าซับในก่อน แล้วนำว่านหรือหรือเครื่องรางของขลังที่ถือว่าเป็นของดีสำหรับป้องกัน อันตรายต่าง ๆ มาห่อด้วยผ้าผืนนี้แล้วใช้เขาวง (กวางหรือเก้ง) หรือเถาวง (เถาวัลย์ของพืชบางชนิด)มามัดเป็นเปลาะ ห่างกันเป็นระยะไว้คาดเอาเวลาจะออกไปจับช้างในป่า ซึ่งผู้ชายกูยถือว่าการมัดเป็นเปลาะโดยเขาวงหรือเถาวงนั้นมีความหมายมาก เพราะเชื่อว่าสิ่งที่เป็นวงกลมนั้นแทนความวงเวียน เมื่อเห็นช้างและช้างเห็นตนแล้ว ก็จะวนกลับมาหาตนใหม่  ของดีที่ใช้ป้องกันตัวนั้นคนไทยเขมรจะใช้คล้องคอแต่ชาวกูยจะใช้คาดเอว  ผ้าคาดเอวจะแขวนไว้ที่สูงห้ามสตรีจับต้องการทำผ้าคาดเอวจากผ้าขิดหัวซิ่นของ ผู้หญิงนั้น  ก็เพื่อเป็นสิ่งแทนตัวในยามห่างไกลจากบ้าน   คำว่าหัวซิ่นก็เป็นของสูงและดี  ฝ่ายชายจึงใช้ห่อเครื่องลางของขลัง 
ข.  ประเภทตีนซิ่น มี 2 ชิดคือ              
เจิง  หรือ ยืง  เป็นตีนซิ่นที่มีความกว้างประมาณ 2 นิ่ว นิยมสีดำ ดดยทอเป็นผ้าฝ้าย ริมขอบล่างสุดใช้ไหมสีเหลือง แดง การนำเส้นไหมมาทอเป็นริมของซิ่นอาจเป็นเพราะไหมทนและเหนียวกว่า  ส่วนการใช้ผ้าฝ้ายทอเป็นเชิงนั้นก็เพื่อให้ผ้าซิ่นมีน้ำหนัก   กระบูล  เป็นตีนซิ่น ที่มีลายเป็นผ้ามัดหมี่เหมือนกะโบลของชาวไทยเขมร อาจเพราะรับเอาวัฒนะรรมมาจากชาวไทยเขมร เพราะชาวกูยจะเรียกผ้าที่มีลวดลายทั้งหลายว่า  ผ้าโฮล  หรือ  จิกโฮล
ประเพณีที่สำคัญของชาวกูย
                 ชาวกูยที่ตำบลลิ่งชัน   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  ซึ่งเรียกตัวเองว่ากวยนั้น  มีประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่กระทำกันทุกปี  เรียกว่า  ประเพณีไหว้พระแข  เป็นภาษาเขมร  ประเพณีนี้เป็นประเพณีเสี่ยงทายเพื่อดูปริมาณน้าฝนที่จะตกในเดือนต่างๆที่ เป็นฤดูกาล  ทำนาในปีต่อไปพิธีไหว้พระแขทำในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง  ชาวกูยจะเตรียมสิ่งของที่ใช้พิธีตั้งแต่เช้าของวันเพ็ญ  คือจะฟั่งเทียน  6  เล่มมีน้ำหนักเท่ากัน  เป็นสัญลักษณ์แทนเดือนต่าง ๆ  6  เดือนที่เป็นฤดูทำนา  ได้แก่เดือน  6  ถึงเดือน  11  ตรงกลางเทียนจะผูกกระดาษแดงไว้เพื่อแสดงการแบ่งเป็นข้างขึ้นและข้างแรง  บริเวณที่ใช้ทำพิธีคือ  ลานวัด  จัดปะรำพิธี  ตรงกลางบริเวณที่ทำพิธี  จะจัดอาสนะสำหรับพระสงฆ์  9  รูป  หน้าอาสนะทำเป็นราวสูงซึ่งหมุนได้และผูกเทียนพิธีทั้ง   6  เล่ม  ไว้หน้าพระสงฆ์  จัดจานไส่ข้าวสารวางไว้ในมุมหนึ่งของบริเวณที่จัดพิธี  จะวางโต๊ะซึ่งมีกระจาดวางอยู่สำหรับใส่ข้าวหลามซึ่งถือว่าเป็นข้าวทิพยรส ซึ่งชาวบ้านนำมาถวายแด่เทพยดา  อีกมุมหนึ่งเป็นโต๊ะบวงสรวงเทพยดาต่าง ๆ พิธีจะเริ่มใกล้เวลาเที่ยงคืนของคืนวันเพ็ญ   เดือนสิบสอง  โดยมีผู้กล่าวคำนมัสการพระรัตนตรัย  เมี่อพระสงฆ์ให้ศีล  พราหมณ์นุ่งขาวห่มขาวจะจุดธูปเทียนที่โต๊ะบวงสรวงเทพยดาและกล่าวคำสวด  ซึ่งเป็นคำอํญเชิญเทพยดาและพระภูมิจ้าที่  สิ่งศิ์สิทธิ์มารับเครื่องสังเวย  แล้วกล่าวคำอาราธนาพระปริตร  พระสงฆ์เริ่มสวดมนต์และทำน้ำมนต์ในขณะเดียวกันพราหมณ์ก็จุดเทียนเสี่ยงทาย ทั้ง6  เล่ม  และหมุนราวเทียน  3  รอบ  แล้วคว่ำราวเทียนไว้  พระสงฆ์ก็โปรยข้าวสารซึ่งสมมุติว่าเป็นฝนตก  ในขณะนั้นตาเทียนจะตกลงมาบนใบตองที่วางไว้บนพื้น
                                ถ้าน้ำตาเทียนเล่มใดหยดไหลเป็นสาย   พราหมณ์ก็ทำนายว่าในเดือนนั้นจะมีฝนตก 
                                ถ้าเทียนใดมีเปลวไฟวูบวาบ   พราหมณ์ก็ทำนายว่าในเดือนนั้นฟ้าจะคะนองมาก
                                ถ้าเทียนเล่มใดน้ำตาเทียนหยดทีละหยดก็จะทำนายว่าในเดือนนั้นฝนไม่ค่อยตก
                การเสี่ยงทายดูปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลอง จะดูจากใบตองที่รองรับน้ำตาเทียนอยู่
                                ถ้าน้ำตาเทียนที่ร่องใบตองไหลมาจดกัน   ก็แสดงว่าในปีต่อไป น้ำจะมาก
                                ถ้าน้ำตาเทียนไม่จดกัน น้ำจะน้อย
                พิธีจะสิ้นสุดลงเมื่อพระสงฆ์สวดมนต์ยะถาสัพพี  ชาวกูยมีความเชื่อว่าพิธีเสี่ยงทายนี้มักจะตรงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ในปีต่อไปเสมอ
อาหารการกิน
                ชาวกูยจะรับประทานข้าวเจ้าเป็นหลัก และรับประทานข้าวเหนียวเป็นครั้งคราว อาหารที่พบว่ารับประทานกันเป็นประจำในหลายๆพื้นที่  คือ พริกตำและแกงกบหรือกบย่าง พริกตำจะใส่พริกสด เกลือ และหัวหอมตำเข้าเข้าด้วยกัน แกงกบเหมือนต้มโคลัง ใส่ใบที่มีรสเปรี้ยว เช่น ใบมะขาม ใส่พริกสด ใส่หัวหอม กับข้าวเหล่านี้จะจะรับประทานกับพืชผักตามรั้วเท่าที่หาได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะปลูกผักสวนครัว เช่น ผักชี กระเพราะ ต้นหอม การจับกบหน้าเกี่ยวข้าวจะใช้เหล็กซึ่งเรียกว่า “ตาห์” เกี่ยวเอากบออกมาจากรู หน้าฝนจะจับกบโดยวางวางเบ็ดสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า “ตะบะฮะ” ไว้ตามเนินดินในทุ่งนา
                นอกจากกบแล้วกับข้าวอาจจะเป็นสัตว์หรือแมลงที่จับได้ในท้องถิ่นนั้น เช่น เขียด กิ้งก่า เอามาย่าง สับตำพริก หนูนาเอามาย่างบ้างแกงบ้าง งูเห่าหรือตามทุ่งนาเอามาสับ ทำแกงคั่ว ใส่ข้าวคั่วตำ ใส่ใบกระสัง ตะไคร้ ผักชี ฝรั่ง รสเผ็ด ๆ เปรี้ยว ๆ มดแดงที่ทำรังตามต้นสะแก  ตันมะม่วง  เอามาคั่ว ตำพริก ใส่พริก มะนาว น้ำปลา กะปิ หรือเอามาคั่ว ใส่เกลือก็ได้ ไข่มดแดงมักจะรับประทานดิบ ๆ หรือบางคนอาจเอามาต้ม ตำพริก แมงกีนูน หรือที่เรียกว่า “กันเจียงเจียง” (แมงช้าง) อยู่ตามใบอ่อนของต้นบกเอามาคั่ว ตำพริก หรือต้มแกง ใส่หน่อไม้ ใส่พริกเผ็ดๆและให้มีรสเปรี้ยว ๆ แมงจีกุดจี่ หรือที่เรียกว่า “กันอึมโผง” อยู่ตามขี้ควายก็เอามาทำรับประทานเหมือนแมงอื่น ๆ นอกจากนี้ ชาวกูยยังมีการเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ดไก่ไว้รับประทานอาหารและจำหน่าย การเลี้ยงวัวควาย นอกจากเอาไว้ใช้ทำนาแล้ว ยังใช้ในการบริโภคโดยมีการล้มวัวล้มควายแล้วแล่วางไว้เป็นกอง ๆ จำหน่ายให้แก่ชาวบ้าน บางส่วนก็เก็บไว้บริโภคเอง ในเวลาที่จัดงานพิธี เช่น วันเซ่นผีบรรพบุรุษ วันบวช ก็จะมีการล้มวัวควาย และฆ่าหมู่เพื่อใช้ประกอบอาหารเช่นกัน
                การรับประทานอาหารดิบยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวกูยที่นิยมดื่มสุรา อาหารดิบที่บริโภคกันนั้น ได้แก่ กุ้งตัวเล็ก ปลาซิวตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “กาผุห์” ปลาและกุ้งเหล่านี้ จับได้จากที่ลุ่มหนองน้ำในนา วิธีการปรุงก็เช่นเดียวกับการทำลาบ คือ มีการใส่น้ำปลา มะนาว พริกป่น ผักชีฝรั่ง และสาระแหน่ ดีหมูก็เป็นอาหารดิบซึ่งนืยมผสมกับสุรา นอกจากนี้ก็มีปลาร้าซึ่งนิยมบริโภคดิบๆใส่มะนาว พริก หอมแดง ส่วนเนื้อไก่และเป็ดไม่เป็นที่นิยมบริโภคดิบ จะนำมาต้มหรือทำลาบสุก
                ผู้หญิงสูงอายุส่วนมากจะเคี้ยวหมากและพลู และมีการปลูกต้นพลูกันมาก นอกจากนี้ยังเก็บไม้ชนิดหนึ่งมาเคี้ยวกับหมากและพลู เรียกว่า “ปลัยการ” /plaj kaar/ ซึ่งมีสีเขียวอ่อนๆ ออกไปทางสีขาว กระเทาะมาจากฝักยาวสีดำแล้วเอามาตาก
ลักษณะหมู่บ้านที่อาศัย
                บ้าน ของชาวกูยดั้งเดิมจะมีลักษณะทรงใต้ถุนสูง บ้านชาวกูยที่เลี้ยงช้างจะยกส่วนด้านหน้าให้สูงกว่าส่วนอื่น เพื่อที่ช้างจะลอดหรือยืนอยู่ได้ โดยปรับดินใต้ถุนเรือนในส่วนนั้นให้มีลักษณะเป็นหมอนสำหรับช้างหนุนนอนกลาง คืน ส่วนชาวบ้านกูยที่ไม่เลี้ยงช้างก็สร้างให้ใต้ถุนสูงเช่นกัน เพื่อวัวควายจะเข้าไปอยู่ได้ ชาวกูยจะใช้ประโยชน์จากบริเวณใต้ถุนเรือนอย่างต็มที่ โดยแบ่งเนื้อที่เป็น ๓-๔ ส่วน ส่วนแรกด้านหน้าที่พื้นยกสูงกว่าส่วนอื่นจะเป็นที่นอนของช้างด้านหลังเป็น ส่วนของวัวควาย ส่วนที่ ๓ วางหูกทอผ้าที่พาดเส้นยืนยาวมากไปผูกกับคอกวัวควาย ส่วนที่ ๔ เป็นร้านวางกระดังไหม และวัสดุเครื่องใช้ที่สานด้วยหวาน หรือไม้ใผ่ในชีวิตประจำวัน ส่วนใต้ร้านอาจเลี้ยงเป็ดหรือไก่ได้อีก บ้านชาวกูยบางบ้านจะแบ่งส่วนหนึ่งที่ติดกับตัวบ้านเป็นยุ้งเก็บข้าว บางบ้านจะสร้างยุ้งข้าวแยกออกจากบ้าน
*********
ขอบคุณฯ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท/มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. สมทรง บุรุษพัฒน์ Ph.D
๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘  

กำเนิดอักษรกูย (เก็อดตูกุ่ย)
               นานมาแล้วในอดีตมีชาวกูยอยู่กลุ่มหนึ่ง   ตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้เฒ่า   ผู้แก่  ลูกเล็กเด็กแดงล้วนเป็นชาวกูย   พูดภาษากูยด้วยกันทั้งสิ้น   ชาวบ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสงบสุขตามอัตภาพ   โดยอาศัยการหาของป่ามาเป็นอาหาร   ทำเช่นนี้เป็นกิจวัตรประจำวัน
                วันหนึ่ง   มีชายชราคนหนึ่งนั่งคิดสงสัยว่าอยากให้มีอักษรกูยเกิดขึ้น   จึงได้เรียกประชุมชาวบ้านทุกคนในหมู่บ้านมาปรึกษาหารือกัน   โดยเนื้อความมีอยู่ว่าในเมื่อภาษาลาว   ภาษาเขมรก็ล้วนมีอักษรของตนเอง   ส่วนภาษาไทยพ่อขุนรามคำแหงก็คิดประดิษฐ์ภาษามาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว   ทำไมพวกเราไม่คิดประดิษฐ์อักษรกูยขึ้นมาบ้างให้เหมือนกับภาษาอื่น   ชาวบ้านส่วนใหญ่ปรึกษาหารือกันแล้วและเห็นด้วยกับชายชราคนนั้น   ทุกคนก็เลยลงความเห็นให้ชายชราดังกล่าวไปคิดประดิษฐ์อักษรกูยขึ้นมา   ชายชราผู้นั้นก็นอนคิดถึงสิ่งที่จะทำอักษรกูยขึ้นมาว่าจะทำด้วยวิธีใด   หลายวันเข้าชายชราก็คิดได้โดยได้นำหนังวัว   หนังควายมาคิดประดิษฐ์เขียนอักษรกูยลงในหนังวัวหนังควาย   แล้วนำไปตากแดดไว้   พอรุ่งขึ้นก็ได้เรียกชาวบ้านมาประชุมเพื่อที่จะนำอักษรกูยที่ตนทำไว้มาให้ ชาวบ้านดูและสอนชาวบ้าน   เมื่อชาวบ้านถามว่าอักษรอยู่ที่ไหน   ชายชราก็วิ่งไปเอาตัวอักษรที่ตนทำไว้อย่างรวดเร็ว   สุกครู่ก็วิ่งกลับมาด้วยความรวดเร็วพร้อมตะโกนบอกว่า  “จะจอจาจิม,จะจอจาจิม”  หลายครั้งจึงเป็นที่มาของคำว่า  “จะจอจาจิม”  เป็นประโยคใหม่ซึ่งแปลว่า   หมาเอาไปกินหมดแล้ว   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงสรุปได้ว่า   ตัวอักษรกูยนั้นไม่มี  เนื่องจากหมาเอาไปกินหมดแล้วนั่นเอง
 กำเนิดอักษรกูย (เก็อดตูกุ่ย)
มีชาย หนุ่มสี่คนเดินทางเข้าป่าเพื่อแสวงหาถิ่นกำเนิดของตน   แต่ละคนต่างก็พูดกันไม่รู้เรื่องเพราะต่างคนต่างมาและมุ่งมั่นที่จะหาถิ่น กำเนิดของตัวเองให้พบ   ครั้นถึงเวลาพลบค่ำมาที่กระท่อมร้างแห่งหนึ่ง  ทั้งสี่ก็เข้าพักในกระท่อมนั้น   ตกดึกเงียบสงัดมีชายชราคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้นในกระท่อมแล้วพูดขึ้นว่าพวกเจ้า ทั้งสี่คนกำลังค้นหาภาษาของตัวเองอยู่ใช่ไหม   ชายทั้งสี่ตอบพร้อมกันว่าใช่   ชายลึกลับบอกกับทุกคนว่า   ถ้าพวกเจ้าอยากรู้ภาษาของตนเองพวกเจ้าจงไปหาไม้กระดานมาคนละแผ่น   ชายทั้งสี่คนพากันแยกย้ายไปหาไม้กระดาน   ชายสามคนได้ไม้กระดานมาคนละแผ่น   ชายอีกคนหนึ่งได้หนังสัตว์แห้งมาหนึ่งแผ่น   แล้วทั้งหมดก็มาหาชายลึกลับที่กระท่อมร้าง   ชายลึกลับบอกชายทั้งสี่ว่า   พวกเจ้าจงตั้งใจฟังให้ดีแล้วเขียนลงในกระดานและหนังสัตว์นั้นไว้   แล้วนำเอาไปสอนลูกสอนหลานของพวกเจ้าสืบต่อไป   ชายลึกลับบอกชายคนที่หนึ่งให้เขียนอักษรลงบนไม้กระดาน   ซึ่งภาษาที่อ่านออกเขียนได้คือภาษาไทย   แล้วบอกชายคนที่สองให้เขียนอักษรลงในไม้กระดานคือภาษาลาว  ให้ชายคนที่สามเขียนอักษรลงไปคือภาษาเขมร   และชายคนที่สี่ซึ่งเป็นคนสุดท้ายให้เขียนอักษรลงไปในหนังสัตว์แห้งคือ ภาษากูย (ภาษาส่วย)   ชายลึกลับกำชับชายทั้งสี่ว่าพวกเจ้าจงเก็บรักษาอักษรเหล่านี้ไว้ให้ดี   เพื่อวันข้างหน้าจะได้ใช้สอนลูกสอนหลานได้   แล้วชายลึกลับก็หายตัวไป   ชายทั้งสี่คนรู้สึกดีใจมากที่พวกตนได้รู้ภาษาและกำเนิดของตนเองแล้วก็พากัน เข้านอนด้วยความสบายใจ   ชายคนที่สี่ซึ่งเขียนอักษรของตนลงบนหนังสัตว์แห้ง   ได้เอาหนังสัตว์ไปแขวนไว้กับเสากระท่อมก่อนจึงเข้านอน  ด้วยความอ่อนเพลียทุกคนก็หลับสนิท   เมื่อตื่นขึ้นมาชายสามคนได้แผ่นอักษรของตนเองกลับบ้านไป   ส่วยชายคนที่สี่กลับหาหนังสัตว์ที่แขวนไว้ไม่เจอ   เดินตามหาจึงพบว่าหนังสัตว์ของตนเองถูกหมาป่าขโมยไปกัดกินเสียแล้ว   เหลือเศษเล็กเศษน้อยตกเกลื่อนกลาดอยู่ก็หยิบมาปะติดปะต่ออ่านออกเป็นตัว อักษรได้ตัวเดียวคือ จ. จาน   ก็เลยเอา  “”  เป็นอักษรหลักในภาษาของตน เช่น  จอ  หมายถึง  หมา  เจา  หมายถึง  มา  จา  หมายถึง  กิน  จิม  หมายถึง  หมด  คำที่พูดออกมาคือ  “จอเจาจาจิม”  หมายถึงหมามากินหมด   ภาษากูยหรือภาษาส่วยจึงไม่มีภาษาเขียนมาจนทุกวันนี้
                ส่วนชายทั้งสามคนก็เดินทางกลับสู่ถิ่นฐานบ้านเกิดพร้อมด้วยไม้กระดานที่มี ตัวอักษรครบถ้วนใช้สอนลูกสอนหลานสืบต่อมา   ชายคนแรกคือภาษาไทย   ชายคนที่สองคือภาษาลาว   และชายคนที่สามคือพื้นฐานภาษาเขมร   ส่วนคนที่สี่คือชาวกูยหรือส่วยที่  “จอเจาจาจิม”  ไม่มีอักษรกูยเพราะหมากินหมดแล้ว
------------------------------------------
หลวงพ่อห้วย
            หลวงพี่มหาประดิษฐ์ ให้ผมเขียนเกี่ยวกับหลวงพ่อ บอกเรื่องอะไรก็ได้ เมื่อก่อนผมได้เขียนจดหมายหลาฉบับเมื่อหลายปีก่อน  เลยนึกไม่ออกว่าได้พูดอะไรไปบ้าง  และไม่รู้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร...
            แต่เมื่อหลวงพ่อเคยพูดเสมอว่า ไม่รู้ว่ามีเรื่องอะไรตั้งเยอะแยะไปหมด เขียนแต่ละฉบับก็มากไปด้วยหน้ากระดาษ ผมถือว่าเวลาเขียนมาหาหลวงพ่อมีเรื่องอะไรก็เล่าได้ไปเรื่อยๆ เพราะทุกเรื่องพ่อต้องรับรู้เรื่องของลูก และรับฟังได้ทุกเรื่องเช่นเดียวกัน
            เมื่อก่อนหลวงพ่อต้องอ่านจดหมายผมเอง แต่ไม่รู้ว่าฉบับนี้หลวงพ่อจะลุกและลืมตาอ่านได้หรือเปล่าไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่าหลวงพ่อไม่สบายหนักนะ แต่เป็นไปตามสังขารตามหลักของพระพุทธศาสนานั่นแหละ และคงต้องรบกวนหลวงพี่ประดิษฐ์รบกวนอ่านให้ท่านฟังแล้วกัน
            ฉบับนี้ขอเล่าเรื่องหลวงพ่อที่หัวเราะเรื่องที่ผมเล่าจนน้ำตาไหล... ช่วงที่ผมได้มาทำงานรับใช้ท่านในฐานะเป็นครูสอนประจำสำนักเรียน.. กิจวัตรผมส่วนใหญ่ทำแต่งาน โดยเฉพาะงานเอกสาร ต้องพิมพ์งาน พิมพ์ข้อสอบ และใช้เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องโรเนียว  และเตรียมงานการสอนมากมาย จึงไม่ค่อยจะอยากไปไหน ไม่ว่าจะเป็นกิจนิมนต์ หรือแม้กระทั่งไปกราบคารวะครูบาอาจารย์ ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา..
            เช้าวันนั้น หลังจากฉันเสร็จแล้ว หลวงพ่อบอกทุกคนว่าจะไปคารวะท่านเจ้าคุณวัดโพนข่า หรือที่เราเรียกว่าเจ้าคุณน่วย   ผมฉันเสร็จเข้ากุฏิทำงานปกติ และบอกปฏิเสธว่าไม่ไป... มีเณรมาเรียกสองเที่ยวหลวงพ่อบอกให้ไป หลวงพี่อุทิตย์มาเรียกอีก ก็ไม่ไป... จนหลวงตาทองมา ลูก หลวงพ่อใหญ่รออยู่ เอาเป็นว่าไปก็ไป ...มือไม้ก็เปื้อนไปด้วยหมึกโรเนียวนั่นแหละ..ตกลงได้ไป... มานึกถึงตอนนี้แล้ว... ไม่รู้ว่าผมคิดอะไรตอนนั้เน  มาภายหลังจึงได้รู้ว่า การคาระวะ ขอขมาครูบาจารย์เป็นสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติ และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติ ไม่ควรปล่อยปละละเลย...
            พ่อนั่งรถได้ รถออกจากวัดไป...ผมก็เป็นคนช่างคุยอยู่พูดไม่ค่อยหยุด เลยได้เล่าเรื่องสมัยผมเป็นเด็ก ขณะที่รถเฮียเตี้ยผ่านหน้าโรงเรียนประถม แต่ก่อนจะมีรถหนังของบริษัททองดีภาพยนต์  ผมเล่าว่า เมื่อผมเป็นเด็ก พ่อของผมถูกหวย 5 บาท เลยพาผมเดินจากบ้านไผ่ มาขึ้นรถบ้านประโด๊ะ เพื่อมารับเงิน... ไม่รู้ว่าได้เท่าไร ผมก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นตลาด และได้กินขนมครก สนุกอยู่กับการได้เห็นรถที่วิ่งผ่านไปมา พอๆกับที่เขาว่าบ้านนอกเข้ากรุงประมาณนั้น... ขณะรถโดยสารจอดหลังสถานีรถไฟ พ่อก็มาเดิน ชี้ให้ดูโน่น ดูนี่...ผมส่งสัยว่ารถหนังที่จอดไว้ในพงหญ้าหลังสถานี จอดไว้ทำไม พ่อผมตอบว่า ... จอดให้มันกินหญ้า... อีกหน่อยมีรถผ่านหน้าไป.. ผมก็ถามพ่อว่า แสดงว่าคันนี้กินหญ้า อิ่มแล้วใข่ใม๊ ... พ่อตอบว่า ใช่... ผมเห็นแต่หลวงพ่อหัวเราะจนน้ำตาไหล... ไม่รู้ว่าหลวงพ่อยังจะจำได้หรือเปล่าไม่รู้.... แต่หลวงพ่อก็จะพูดกับผมอยู่เรื่อยๆ เอ๊ย... ลูกนายจันทร์ อ.อ่าง  ผมก็เลยไม่ค่อยได้ถามว่า อ.อ่าง หรืออ.โอ่งไม่รู้เหมือนกัน...
            จากนั้นหลวงพ่อก็ไม่ค่อยได้หัวเราะอะไรอีกเลย... เป็นเพราะท่านงานยุ่ง  และท่านก็มักจะหนีความยุ่งของบรรดาญาติโยม โดยการเดินเข้าป่าไป...
            เอาหละฉบับนี้แค่นี้ก่อนนะครับ...ถือเป็นประเดิมเรื่องแรกก็ว่าได้ ในรอบสิบปีก็ว่าได้... ก็ขอให้หลวงพ่อมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปนะครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
                   มหาสุเมธ... หรือหลวงพ่อมักจะเรียกผมช่วงผมมาทำงานเรือว่า ฝรั่งแขก...
                                                                                                                                              

11กรกฏาคม 2554
กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง
                                                                        หลวงพ่อ “บ่น”
            ในช่วงที่ผมได้มาปฏิบัติศาสนกิจในวัดประชารังสรรค์กับหลวงพ่อ ผมไม่เคยเห็นหลวงพ่อ “บ่น” เรื่องใดๆทั้งสิ้น ถ้าพูดภาษาพระควรจะบอกว่า “อบรม” ถึงจะถูก เพราะปกติแล้วเป็นหน้าที่ของหลวงพ่ออยู่แล้ว ที่จะอบรมบรรดาพระเณรที่บวชในพรรษา และอยู่จำพรรษาอยู่แล้ว... แต่ในช่วงที่ผมมาอยู่ผมไม่ค่อยได้เห็นหลวงพ่ออบรมหลังทำวัตรเย็นสักวัน.. หลังจากทำวัตรเสร็จก็จะลงจากโบสถ์ไป โดยไม่ได้พูดเรื่องอะไรสักคำ
            เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไม ผมถึงเขียนจดหมายหลวงพ่อของผมว่า “บ่น”  ผมมักจะเฝ้าสังเกตอยู่หลายๆเรื่อง เลยนึกถึงเรื่องเดียวที่น่าจะได้เขียนให้หลวงพ่อได้รู้ว่า ช่วงที่ผมอยู่นี้ มักจะได้เรียนรู้อะไรจากการได้เห็นมากกว่า
            ปกติแล้ว หลวงพ่อมักจะต้อนรับบรรดาญาติโยม ที่กุฏิที่ท่านจำวัดหลังเก่า ปัจจุบันเปลี่ยนรูบเป็นทรงไทยอย่างสวยงาม และเย็นสบาย เงินเข้าตู้บริจาค เห็นจะมีแทบทุกวันก็ว่าได้ ไม่เคยมีวันไหนเลยที่เงินจะไม่มีในตู้บริจาคด้านหน้าที่หลวงพ่อท่านนั่ง...  เห็นทุกวัน มีมากเกือบทุกวัน.. ผมก็ไม่เคยใส่ใจเลย ในเรื่องการจะนับ หรือจัดการ มีโยมมาจัดการเรียบร้อยได้ทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใกล้วันลุ้น ของบรรดานักเสี่ยงโชคทั้งหลาย ก็จะมีคนบริจาคมากขึ้นเรื่อยๆ
            จำได้ว่า หลวงพี่พระมหาทองใบ ได้ทำเรื่องให้หลวงพ่อได้เที่ยวเมืองจีน หลังจากเมื่อปีก่อนโน้น ท่านได้ไปแสวงบุญดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดียวแล้ว  แต่คราวนี้ ท่านได้ไปเที่ยวเมืองจีน เป็นเวลา 7 วัน ไปทีไหนบ้างผมก็ไม่ทราบมากมาย ท่านกลับมาคงมีรูปภาพมาให้ดูอยู่แล้ว..
            “วัด” ยามที่หลวงพ่อไม่อยู่ จะเงียบเหงาชอบกล.. รถยนต์ที่เคยได้ยินเสียงบ้าง กลับไม่ได้ยินเลย.. นานๆก็จะมีคัน.. ถ้าท่านไม่อยู่ ทุกอย่างก็จะเงียบเหงา  รวมทั้งผม และบรรดาพระเณรในวัดด้วย ก็พลอยเงียบเหงาไปตามๆกัน
            จำได้ว่า วันนั้นท่านเดินทางกลับจากเมืองจีน มาถึงวัดในช่วงบ่ายแล้ว พวกเราดีใจ เหมือนๆกับพ่อที่ไปตลาด แล้วกลับมาบ้านอย่างนั้นแหละ แต่ก็ไม่เคยคิดเรื่องของฝากใดทั้งสิ้น แค่ท่านกลับมาพวกเราก็อบอุ่นแล้ว....พวกเราก็กลับต้อนรับที่หลวงพ่อกลับมา อย่างปลอดภัย
            ท่านเห็นพวกเรา ก็ยิ้มๆ แล้วท่านก็พูดว่า... ให้มหาสุเมธเฝ้าวัด มาร่วมอาทิตย์ ไม่มีเงินเข้าตู้สักบาท... นั่นมันเงิน 20 บาท ก่อนหลวงพ่อไปนี่...
            “ หลวงพ่อไปก็ไม่ได้เสียเงินสักบาท กลับมาก็มีโยมถวายอีก และมาถึงวัด เงินในตู้บริจาคก็เพิ่มขึ้นอีก”   ผมยอมรับ ขอรับ หลวงพ่อ...
            ไม่รู้ว่าจะสรุปจดหมายเรื่อง “บ่น” ของหลวงพ่ออย่างไร? เพราะมันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ผมเลยนึกถึงเรื่องนี้ทีไร  อดขำ ตัวเอง ที่ไม่สามารถพูดกล่อมให้โยมเอาเงินยอดตู้ได้ แต่ท่านก็ไม่ได้คาดคั้นเอาเรื่องอะไรทั้งนั้น เป็นแต่ท่านสร้างอารมณ์ขำ หรือพูดในเชิงคนที่ปฏิบัติละก้อ คงต้องฝึกปรืออีกนาน สร้างบารมีอีกนาน  มันเทียบอะไรไม่ได้อยู่แล้ว
และกล่าว ได้ว่าเป็นครั้งแรก ที่ได้เห็นหลวงพ่อกล่าวแบบอมยิ้มๆ พูดให้เป็นเชิงเกิดอารมณ์ขำ เลยอยากตั้งชื่อเรื่องนี้ “บ่น” ในความคิดของผม
----------------------
                มองชิเอร์ เลวี M. Levy นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงนิทานหรือนิยายปรำปราที่ชาวกวยได้เล่าสืบ ต่อกันมาว่า “บรรพบุรุษของพวกเขานั้นมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองชำบงขมอต่อมาได้ เกิดแผ่นดินไหวจึงได้พากันอพยพขึ้นเหนือไปอยู่แถบเมืองจำปาศักดิ์ แต่ต้องประสบภาวะน้ำท่วมแทบทุกปี ชาวกวยจึงต้องอพยพข้ามลำน้ำโขงไปหาที่อยู่ใหม่” จึงเป็นที่เข้าใจว่าชนชาติส่วยได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ทางฝั่งซ้าย แม่น้ำโขงก่อนที่ขอมจะเข้ามามีอำนาจนานนับศตวรรษ
                ตำนานดังกล่าว จึงน่าจะมีมูลความจริง แม้นว่าในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-20 นั้นชนชาติกวยมีอาณาจักรหรือมีแหล่งที่อยู่เป็นของตนเอง เมื่อการเมืองในเอเซียภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนไปในปี พ.ศ. 1093 เจ้าชายจิตเสนได้ยกกองทัพเข้าโจมตีอาณาจักรฟูนันและสามารถยึดอาณาจักฟูนัน ได้โดยสิ้นเชิง อาณาจักรฟูนันที่เคยรุ่งโรจน์ก็สลายไปในที่สุดเจ้าชายจิตเสน สถาปนาอาณาจักรเจนละขึ้นโดยอุปภิเษกพระเจ้าวรมันที่ 1 ให้เป็นปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรเจนละ  เจ้าชายจิตเสนทรงเป็นแม่ทัพที่มีความสามารถได้ขยายและแผ่อำนาจเข้ามาในเขต อีสานใต้ (ของไทย) ได้ทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองซึ่งเข้าใจว่าเป็นพวกข่า หรือชาวกวยการทำสงครามขยายอาณาเขตครั้งนี้ยืดเยื้อ  แต่ชาวกูยที่เมืองแสนปางยังคงมีอำนาจและเป็นอิสระอยู่ เพราะในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยังมีชนชาติกวยเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ต่อจากนั้นเรื่องราวของชนชาติกวยก็เลือนหายไปเข้าใจว่าคงจะถูกยึดครองโดยลาว นครจำปาศักดิ์  หรือไม่ก็ตกอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรเจนละ (ขอม) แต่อย่างไรก็ตามชนชาติกวยหรือกูยนั้น ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายข้ามลำน้ำโขงมีฝั่งตะวันตกเข้าสู่ดินแดนแถบอีสานใต้ ของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2200 เป็นต้นมา จนถึงปลายอยุธยาตอนปลายปรากฏว่ามีชุมชนส่วยหรือกวยเกิดขึ้นอยู่ทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานีจนถึงจังหวัดบุรีรัมย์ แต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือชนชาวกูยที่บ้านเมืองที บ้านโคกยาง (สังขะ) บ้านกุดหวาย (รัตนะบุรี) และบ้านโคกดงลำดวน จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้รับการสถาปนายกฐานะให้เป็นเมืองชื่อ “เมืองศรีนครศรีลำดวน” ซึ่งถือว่าเป็นบรรพชนของคนศรีสะเกษ ในยุคปัจจุบัน
ภาษาส่วย
ภาษาส่วย ชาวบ้านในตำบลห้วยทับทัน(บ้านบกพอก)จะใช้ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน คือ ภาษาส่วย (กูย) ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่จะใช้ภาษาเดียวกัน ภาษาส่วยนั้น จะมีเฉพาะภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียนที่เป็นพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ คำที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นคำโดดพยางค์เดียว อย่างมากก็ไม่เกิน 2 พยางค์คล้ายๆกับภาษาไทยและภาษาเขมร ดังนั้นในการเขียนภาษาส่วยจึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบเสียงกับพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ในภาษาไทย ภาษาส่วนที่ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นภาษาง่ายๆ พื้นๆ ไม่ลึกซึ้ง มีความหมายตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนเหมือนภาษาไทย ดังนั้นจึงจำแนกภาษาได้เป็นหมวดหมู่ดังนี้


คำทักทาย
หมวง เจา รู เหนีย แปลว่า คุณมาจากไหน
หมวง เจา นะ กะ ดาย แปลว่า คุณมากับใคร
หมวง กวย เซาะ เหนีย แปลว่า คุณอยู่บ้านไหน
หมวง เจา บวย มะนอ แปลว่า คุณมาหาอะไร
หมวง เจา บวย กะ ดาย แปลว่า คุณมาหาใคร
หมวง กอน กะ ดาย แปลว่า คุณเป็นลูกใคร

คำส่งท้าย
ไฮ จี หยูวง เดอ แปลว่า ผมไปก่อนนะ
ออน แบละบืนจะแงดจะเงอม เดอ แปลว่า ขอให้อยู่เย็นเป็นสุขนะ
ออน จะอ๊อบ เดอ แปลว่า ขอให้สบายดีนะ
ออน โชคดี เดอ แปลว่า ขอให้โชคดี
ออน กอนเจา แบละบืนจะแงดจะเงอม เดอ แปลว่า ขอให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข
ออน ปละ ฮอย แซง แหยง ฮอย เซาะ เดอ แปลว่า ขอให้มีเงิน ทองไหลมาเทมา
ออน อาหยุ หยืน เดอ แปลว่า ขอให้มีชีวิตที่ยืนยาว

คำตอบรับ
ภาษาส่วย ไม่มี ครับ ค่ะ คะ จ๋า จ๊ะ การใช้คำตอบรับกันจึงใช้คำว่า อือ หรือ เออ

คำสนทนาทั่วไป
คำถาม ไง แหน หมวง จา โดย นะ มลอ แปลว่า วันนี้คุณกินข้าวกับอะไร
คำตอบ ไฮ จาโดย นะ อากาทอด แปลว่า กินข้าวกับทอดปลา
คำถาม หมวง เกอด ปละ ตาง ออน ไฮ หยืม เถ แปลว่าคุณมีเงินให้ผมยืมไหม
คำตอบ เถ ไฮ ปะ เกอด ปละ ตาง เอ๊อะ แปลว่า ผมไม่มีเงินให้คุณยืมหรอก
คำถาม ไง แหน หมวง จี ถีว นะ ไฮ เถ แปลว่า วันนี้คุณไปเที่ยวกับผมไหมครับ
คำตอบ ไฮ จี เฮย ไง แหน ไฮ วาง พอดี แปลว่า ไปครับ วันนี้ผมว่างพอดี
คำถาม กะมอน หมอง จา โดย นะ มลอ บืน กานับ ออ แปลว่า สาวครับ คุณทานข้าวกับอะไรจึงได้สวยจังเลย

คำตอบ ไฮ จา โดย นะ ปนอากาเฉาะ นะ ผัก แปลว่า ฉันทานข้าวกับน้ำพริกปลาช่อนและผัก

คำสนทนากับพระสงฆ์ ผู้มียศศักดิ์
คำถาม กอน จู สวด มน บืน แหลว ด๋อง แปลว่า สามเณรสวดมนต์ได้หรือยัง
คำตอบ กะเบียด สวด บืน แหลว แปลว่า สวดได้แล้วครับ
คำสั่ง จี สวด มน หญูง เดอ แปลว่า ไปสวดมนต์ก่อนนะ
คำตอบรับ โดย ,โดยขะนอย


หมวดร่างกาย
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย

ปลอ หัว
เซาะ ผม
ขิว คิ้ว
หมัด ตา
เซาะหมัด ขนตา
หมุ๊ จมูก
ผล็องหมุ๊ รูจมูก
กาบำ แก้ม
เขียง คาง
กะตอล หู
กาเน๊าะ ปาก
กาต๊ะ ลิ้น
ตะกอง คอ
กาแนง ฟัน
กาป๊าก ไหล่
แบลง แขน
ตะกอมไต นิ้วมือ
แกง เอว
จะ ลำตัว
กาแปล สะโพก
กอด ก้น
ยืง ขา
แคล็ก เล็บ
ปะฮอม หัวใจ
หลวม ตับ
หลวดแกด ลำไส้เล็ก
หลวดผืด ลำไส้ใหญ่
กลองหมัด ลูกตา
เซาะ ขน
กะเถี่ย รักแร้
ตะเล๊าะ สะดือ
ปลอตะกอล หัวเข่า
ซอก ข้อศอก
อะฮาง กระดูก
ซั้ย เนื้อ
ผุง พุง
ตาตุม ตาตุ่ม
กอมยืง นิ้วเท้า
แขล๊ะยืง เล็บเท้า
แขล๊ะเต เล็บมือ
ขรูง อก
ผุง ท้อง
เก๊าะ หลัง
ตะลางไต ฝ่ามือ
สะมอล เงา
หมุ๊หมัด หน้าตา
เดี๋ยะหมัด น้ำตา
หรู น่อง
กะข๋อง แข้ง
ตะกอมยืง ข้อเท้า
กลอม ปัสสาวะ
กอมแบลง ข้อมือ
กอมเตแก๊ด นิ้วก้อย
กาไซ เส้นเอ็น
เดี๋ยะหมุ น้ำมูก
ฮาม เลือด
กรอง อุจจาระ
เดี๋ยะหวี น้ำลาย
หมวดจำนวนนับ
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
หมูย หนึ่ง
เบีย สอง
ไป สาม
ปอน สี่
เซิง ห้า
กาผัด หก
กาโผล เจ็ด
กาค๊วล แปด
กาแข๊ะ เก้า
กาเจ็ด สิบ
เฉียว ยี่สิบ
หมูยหรวย หนึ่งร้อย
เบียหรวย สองร้อย
ไปหรวย สามร้อย
ปอนหรวย สี่ร้อย
เซิงหรวย ห้าร้อย
กาผัดหรวย หกร้อย
กาโผลหรวย เจ็ดร้อย
กาแข๊ะหรวย แปดร้อย
หมูยผัน หนึ่งพัน
หมวดเครื่องใช้
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
ฮับ เสื้อ
หยิ๊กกูด กางเกง
สบู สบู่
แปลงดิกาแนง แปลงสีฟัน
อาแจะถิกาแนง ยาสีฟัน
คัล ขัน
กาละมัง กาละมัง
ขลุ ครุ
โขม จาน
อาโบง ช้อน
อาแด๊ะ หม้อ
กะถะ กะทะ
เตา เตา
พัดลม พัดลม
โทรทัด โทรทัศน์
ยิ๊กโนม ผ้าห่ม
กาน๊อย หมอน
บวนบิ๊ก ที่นอน
อาหลวงตีงหยิ๊ก ไม้แขวนผ้า
นังเซอ หนังสือ
ตูหยิ๊กฮับ ตู้เสื้อผ้า
กาโต ไม้กวาด
อาหลวงถูดุง ไม้ถูพื้น
ตูเย็น ตู้เย็น
ปากกา ปากกา
อารถ รถ
หมัลเสียบอุ๊ ปลั๊กไฟ
บวนตะกาว ที่นั่ง
เตาะ โต๊ะ
ตุมฮู ตุ้มหู
ฮองเดี๊ยะ ห้องน้ำ
แวนตา แว่นตา
จีน แหวน
อาแหวะ ทัพพี
เป๊ดแท มีดโกน
เป๊ด มีด
เต๊นซอ ดินสอ
กาถัด ไม้บรรทัด
หยิ๊กปอยเดี๊ยะ ผ้าอาบน้ำ
หยิ๊กไบ ผ้าสะไบ
หยิ๊กฉูดยืง พรมเช็ดเท้า
ถูป ธูป
ถีน เทียน
โหมก หมวก
คัลมลู พานหมาก
กร๊ะ หวี
ถู๊ เรือ
กานัน เข็มขัด
ขวนตำตะโป ฆ้อนตีตะปู
จูง ขวาน
เป๊ดเผลีย มีดอีโต้
โขมขรู ถ้วย
กาเออง ครก
จ๊อบ จอบ
แขร สาก
กาหมั๊น แห
คีง เขียง
กาวีง สวิง
ขรู ไซ
กาแบ๊ะ เบ็ด
กรรไกร กรรไกร
ตะเผลิง ไฟเช๊ค
อุ๊ ไฟ
กาเผลิง ปืน
กาวีน เคียว
ปะเฉิง รองเท้า
จอก แก้ว

หมวดสี
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
ซีกะเซา สีแดง
ซีกะแวง สีดำ
ซีน้ำเงิน สีน้ำเงิน
ซีฟา สีฟ้า
ซีลืง สีเหลือง
ซีบ๊วะ สีขาว
ซีซม สีส้ม
ซีชมพู สีชมพู
ซีเทา สีเทา
ซีมวง สีม่วง





คำที่ใช้เรียกเครือญาติ
โผ , อาโผ หมายถึง พ่อ
เผะ ,อาเผะ หมายถึง แม่
โผเฒา หมายถึง ปู่ ตา คนแก่ผู้ชาย
เผะเฒา หมายถึง ย่า ยาย คนแก่ผู้หญิง
หลูง,อาหลูง หมายถึง ลุง
อาปี หมายถึง อา น้า (ผู้หญิง)
อามาด หมายถึง อา น้า (ผู้ชาย)
อาย หมายถึง พี่ชาย
เอย หมายถึง พี่สาว
ซาย หมายถึง พี่ (ชายหรือหญิงที่มีอายุมากกว่า)
แซม หมายถึง น้อง (ชายหรือหญิงที่มีอายุน้อยกว่า)
กอนงา หมายถึง ทารก
กอนแนน หมายถึง เด็ก
หมวดทิศและตะวัน
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
นาเหลาะ ทิศตะวันออก
นายืง ทิศเหนือ
นาปั๊ด ทิศตะวันตก
นาปลอ ทิศใต้
เตาะหละ พรุ่งนี้
ไงไบ เมื่อวาน
ไงแหน วันนี้
บันหละ ตอนเช้า
บันบือ ตอนเช้า
บันเว๊ะ ตอนค่ำ


คำตรงข้าม
ภาษาส่วย (กูย) ภาษาไทย
แกด - ผืด เล็ก - ใหญ่
ถี - เถียบ สูง - ต่ำ
บั๊วะ - กาแวง ขาว - ดำ
ปล็อม - กาค๊วม อ้วน - ผอม
ดัล - บิ๊ มาก - น้อย
จี - เจา ไป - มา
แก๊ะ - ถรึง สั้น - ยาว
ไหว - ฉู เร็ว - ช้า
กูยโถล - กูยกะไป ชาย - หญิง
ซาย - แซม พี่ - น้อง
จะนับ - เผรอะ สาย - ขี้เหร่

คำที่บ่งบอกวัยวุฒิ
ภาษาส่วยมีคำที่บ่งบอกถึงความแตกต่างทางด้านวัยวุฒิ เช่น
เกา หมายถึง กู ข้า ฉัน
ไหม หมายถึง แก มึง เธอ
ไฮ หมายถึง ผม กระผม ,ข้าพเจ้า ฉัน
กะเบียด หมายถึง ผม กระผม, ข้าพเจ้า ฉัน
หมวง หมายถึง คุณ ,ท่าน






คำปฏิเสธ
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
เถ ไม่
หึ ไม่
ปะจี ไม่ไป
ปะแอ ไม่เอา
ปะบืน ไม่ได้
ปะเกิ๊ด ไม่มี
ปะออน ไม่ให้
ปะดิง ไม่รู้
ปะจา,ปะเจีย ไม่กิน
ปะหงั๊ด ไม่ฟัง

หมวดสัตว์
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
โข วัว
เกลียก ควาย
อาจอ สุนัข
แมว แมว
อาหลิ๊ หมู
กานัย หนู
เถีย เป็ด
หลู๊ย ไก่
อากลอ หอย
กาตาม ปู
อากา ปลา
กาซัน งู
อาหลวย แมลงวัน
บล๊าบๆ ผี้เสื้อ
ตุ๊กแก ตุ๊กแก
จ๊กจ๊ก จิ้งจก
อายีล ค้างคาว
อาจีง ช้าง
อาหวั๊วะ ลิง
แจม นก
อาแซ๊ะ ม้า
เกาเถียง แมงป๋อง
ขลูน ปลวก
ผลูน พยาธิ
ปาง,อาเปลย หนอน
อาเหรี๊ยก ตั๊กแตน
อาเหรี๊ยด แมลงสาบ
ตะกอด ตะกวด
อากอย กิ้งก่า
กาซูม กุ้ง
อากรอ หอย
แมงมุม แมงมุม
อากรอโผรง หอยโขง
อากรอแต๊ะ หอยจูบ
กันกรูๆ แมงดา
กามึก ปลาหมึก
กาตัง ปลาซิว
กากรั๊น ปลาหมอ
กาเฉาะ ปลาช่อน
กากัน ปลาดุก
อากูด กบ
อากูดซอ เขียด
แจมโก นกฮูก
แจมปาล นกเขา
แจมเครียบ นกพิราบ
แจมหลิ๊ นกเอี้ยง
แจมตะ นกกางเขน
กามอม เต่า
กาซันเคว งูเขียว
กาซันแหวะ งูเห่า
กูดตะ คางคก
อาหรี๊เกาะ หมูป่า
แจ เหา
กันกร๊อง มดแดง
กันปาลแปง แมลงทับ
กาแฮบ ตะขาบ
กันขอขอ กิ้งกือ
กันโหงลๆ ผึ้ง
กาซันไผล งูสิงห์
กันถ๋อดถ๋อด แมลงปอ



หมวดผักและผลไม้
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
ไปลข่อง มะม่วง
ไปลฮอง มะละกอ
ไปลผึล มะขาม
กาโตม อ้อย
ไปลถูด มะยม
ไปลผืง มะเฟือง
ไปลปลี๊ด กล้วย
ไปลคี๊บ น้อยหน่า
ไปลโตง มะพร้าว
ไปลตาล ตาล
ไปลส้ม ส้มเขียวหวาน
ไปลเงาะ เงาะ
ไปลลำไย ลำไย
ทุเรียน ทุเรียน
แกลโปง แตงโม
แกล แตงกวา
ไปลถัน พุทรา
ชมพู ชมพู่
ไปลอาหนาด สัปปะรด
ไปลแกรง ลูกหว้า
แอบเปิ้ล แอบเปิ้ล
ไปลข่องฟาย มะม่วงป่า
ไปลมะขามเทด มะขามเทศ
อาป๊อง มัน
ไปลกึง ขะเขือ
ไปลโผงป๊อก มะเขือเทศ
ไปลโกร๊ด มะนาว
กรี เห็ด
พักกาด ผักกาด
พักชีเหลียว ผักชีลาว
พักชีจีน ผักชีจีน
พักคะนา ผักคะน้า
อาโหร๊ะ โหระพา
พักพราว กะเพรา
ไปลผาว ฝักทอง
อาบัง หน่อไม้
พักกาหมึ๊ง ผักตำลึง
พักเซดเดี๊ยะ ผักกระเฉด
พักเซด กระถิน
พักบุง ผักบุ้ง
พัก ผัก
ไปลละมุด ละมุด
ไปลผรวง มะไฟ
ไปลโกร๊ด มะนาว
ไปลโกร๊ดซุ๊ด มะกรูด
ไปลส้มโอ ส้มโอ
พักหงั๊น ขี้เหล็ก
กาเมลิง ข่า
กาเถ่ะ พริก
กาไขรย ตะไคร้
ปองเหวีย มันเทศ
ปองขวล มันสำปะหลัง
ไปลหมี ขนุน
ไปลเดีย ฝรั่ง
ขัลผริ๊ก บัว
ไปลเถน ทับทิม
กาถีมออ หอม
กาถีมซอ กระเทียม
ไปลกอ ลูกตะโก
ไปลกาย ลูกจะบก

หมวดต้นไม้
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
ขัลเกาะ ต้นไผ่
ขัลข่อง ต้นมะม่วง
ขัลอาหลวง ต้นไม้
ขัลฮอง ต้นมะละกอ
ขัลผึล ต้นมะขาม
ขัลกาโตม ต้นอ้อย
ขัลถู๊ด ต้นมะยม
ขัลผืง ต้นมะเฟือง
ขัลปลี๊ด ต้นกล้วย
ขัลโตง ต้นมะพร้าว
ขัลคี๊บ ต้นน้อยหน่า
ขัลเงาะ ต้นเงาะ
ขัลลำไย ต้นลำไย
ขัลเดีย ต้นฝรั่ง
ขัลสะนาย ต้นข่อย
ขัลก๊อ ต้นตะโก
ขัลขูน ต้นคูณ
ขัลแกรง ต้นหว้า
ขัลกำ ต้นแต้
ขัลตัง ต้นสะเดา
ขัลแข ต้นแค
ขัลกาย ต้นจะบก
ขัลทุเรียน ต้ทุเรียน
ขัลชมพู ต้นชมพู่
ขัลหมี ต้นขนุน
ขัลละมุด ต้นละมุด
ขัลผรวง ต้นมะไฟ
ขัลตาล ต้นตาล
ขัลเซด ต้นกระถิน
ขัลโกร๊ด ต้นมะนาว
ขัลหงั๊น ต้นขี้เหล็ก

คำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ภาษาส่วย (กูย) ภาษาไทย
จีเหนีย ไปไหน
หวัวมลอ ทำอะไร
จีเหนียเจา ไปไหนมา
ไฮหมักหมวง ฉันรักเธอ
ไฮกะอิหมวง ฉันเกลียดเธอ
แอเจาแหน เอามานี่
ออนนึ ขอหน่อย
บึกหยูลรือด๋อง ตื่นนอนหรือยัง
จีหรีนเถไงแหน ไปเรียนไหมวันนี้
เจาจาโดย,เจาเจียโดย มากินข้าว
ออนไฮจีนัง ให้ฉันไปด้วย
แหมหนังเถ ดูหนังไหม
ดิงจีหวัวมลอ จะไปทำอะไร
โตลหมัลออนเนอะ ซื้อของให้หน่อย
ต้องฉิมมะเหนีย ท้องหมดเท่าไหร่
หวาวปะดิงเหรือง พูดไม่รู้เรื่อง
แอเจาออนเนอะ เอามาให้หน่อย
บิกบืนแหลว นอนได้แล้ว
กานับออ สวยจัง
หมวงดิงจีเหนีย คุณจะไปไหน
ดิงจีปอยเดี๊ยะ จะไปอาบน้ำ
ดิงจีหง๊อกเดี๊ยะ จะไปดื่มน้ำ
ไฮดิงจีบิก ผมจะไปนอน
หมวงกะอ๊อบดีเถ คุณสบายดีไหม
ออนไฮฉูยเถ ให้ฉันช่วยไหม
ยูลบืนแหลว ตื่นได้แล้ว
จีโหรงหรีน ไปโรงเรียน
กาอ๊อบเถ สนุกไหม
จีอ๋องโดย ไปหุงข้าว
จีแอเดี๊ยะเจาออนหง๊อกนัง ไปเอาน้ำมาให้กินหน่อย
เจาดูนแหลวดอง มานานแล้วหรือยัง
หมวงจำกาดาย คุณรอใคร
เจาแหนเนอะ มานี่หน่อย
บิดิงหวาวออนงัด เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง
ติหวาว อย่าพูด
ขึดเผอะมะ คิดถึงนะ

หมวดคำถามที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ภาษาส่วย(กูย) ภาษาไทย
โผหมึ๊กมลอ พ่อชื่ออะไร
เผะหมึ๊กมลอ แม่ชื่ออะไร
ซายหมึ๊กมลอ พี่ชื่ออะไร
แซมหมึ๊กมลอ น้องชื่ออะไร
หมวงอายุม๊ะเหนีย คุณอายุเท่าไร
หมัลแหนราเขียมะเหนีย ของนี้ราคาเท่าไร
โผหมวงกูดุงเถ พ่ออยู่หรือเปล่า
เกิดกาได๋กูเถดุงแหน มีใครอยู่บ้านบ้าง
ดุงแหนอาจอกับเถ บ้านนี้สุนัขดุมั๊ย
หมวงกูเซาะเหนีย คุณอยู่หมู่บ้านอะไร
จาโดยนะมลอ กินข้าวกับอะไร
หมวงหมึ๊กมลอ เธอชื่ออะไร
หมวงหมักจามลอ เธอชอบทานอะไร
จีแหมหนังนะไฮเถ ไปดูหนังกับฉันไหม
หมวงหมักจงัดเผลงเถ เธอชอบฟังเพลงไหม
เผลงมลอ เพลงอะไร
จีถีวนะไฮเถ ไปเที่ยวกับฉันไหม
หวัวการบานแหลวด๊อง ทำการบ้านหรือยัง
จีหวัวหวิปะเหนีย ไปทำงานที่ไหน


เรียนรู้ภาษาใต้

     ภาษาใต้ที่ผมนำมาเสนอนี้  เป็นภาษาที่ใช้กันในท้องถิ่น  การนำเสนอจะเริ่มด้วยภาษาที่เป็นสำเนียงใต้ที่ใช้กันจริง ๆ  จึงอาจทำให้การผสมคำ  ตัวสะกด  และ
ลักษณะของการผันเสียงให้ได้ตามสำเนียงใต้อาจดูแปลก ๆ ไปบ้าง  ต้องขออภัยต่อท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย  จุดประสงค์ที่ต้องทำเช่นนี้ก็เพื่อให้ได้สำเนียงใต้ที่ถูกต้องหรือใกล้เคียง มากที่สุด ทุกคำจะมีสำเนียงภาษากลางไว้ในวงเล็บเพื่อเปรียบเทียบด้วย หากผิดพลาดประการใดขอท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย
      มาเริ่มต้นกันเลยนะครับ
ไม๊พรื๋อ(ไม่พรื่อ)  แปลว่า  ไม่เป็นไร
ท่ำพรื๋อ(ทำพรื่อ)  แปลว่า   ทำอย่างไร
หพรื๋อโฉ๊(พรื่อโฉ้) แปลว่า อาการไม่ค่อยจะดี (ใช้ในกรณีที่ไม่ค่อยสบายเนื้อสะบายตัว  หรืออาการคลื่นใส้)
เจ็บแบ็ดหั้ว(เจ็บเบ็ดหัว)  หมายถึง  ปวดหัว
เสี๊ยดพุ่ง(เสียดพุง)  หมายถึง อาการปวดท้อง
หอ่ายไหร๊(อ้ายไหร)  หมายถึง  อะไร
ทำไหร๊(ทำไหร)  แปลว่า  ทำอะไร
พั๊นหนั่น(พันนั้น)  แปลว่า  อย่างนั้น , พั๊นหนั่นแหล๊ะ = อย่างนั้นแหละ
ม่าถั๊ง (หมาถัง)  หมายถึง  ถังตักน้ำ
ร่อยจังหู้(หรอยจังหู) หมายถึง  อร่อยมาก ๆ
ดี๋ปลี๋(ดีปลี) หมายถึง  พริก
เค่ย(เคย) หมายถึง กะปิ  เช่น เค่ยกุ๊ง(เคยกุ้ง) = กะปิที่ทำจากกุ้ง . เค่ยปล๋า(เคยปลา) = กะปิที่ทำจากปลา
ขี๊หมิ๊น(ขี้หมิ้น) หมายถึง ขะหมิ้น